ความคาดหวังและความพึงพอใจ ของผู้พิการทางสายตาที่มีต่อเฟซบุ๊กในฐานะสื่อสังคมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • บัญจรัตน์ สังข์น้อย สาขาวิชาการสื่อสารสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • สหภาพ พ่อค้าทอง สาขาวิชาการสื่อสารสื่อดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, ผู้บกพร่องทางการมองเห็น, สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงพฤติกรรมการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก 2) ศึกษาถึงความคาดหวัง การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวัง การใช้ ประโยชน์ และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กกับพฤติกรรมการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นการวิจัย เชิงปริมาณ ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจาก ผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัยและวิเคราะห์ด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบ t–Test รวมทั้ง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.00 และเพศชาย ร้อยละ 48.00 มีช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 51.80 และมีความบกพร่องทางการมองเห็นมาตั้งแต่กำเนิด ร้อยละ 61.00 ผู้บกพร่องทางการมองเห็นมีความคาดหวังต่อสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กที่ต้องการหากิจกรรมทำยามว่าง มีค่าเฉลี่ย 3.84 ความพึงพอใจ ที่มีต่อการรับความรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ง่าย และสะดวกรวดเร็ว มีค่าเฉลี่ย 3.61 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บกพร่อง ทางการมองเห็นในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และความบกพร่องทางการมองเห็นแตกต่างกัน จะมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีอายุ 21–30 ปี จะมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก มากกว่าผู้ที่มีอายุ 15–20 ปี ส่วนผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกันจะมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กแตกต่างกัน โดยผู้ที่มี ระดับการศึกษาปริญญาตรีจะมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กมากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปวส.

References

กายกาญจน์ เสนแก้ว. (2558). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Gen-X ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ขวัญชนก กมลศุภจินดา. (2557). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการแสดงตัวตนของเจเนอเรชั่น: กรณีศึกษาความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์สและเจเนอเรชั่นวาย. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จริยา ปันทวังกูร. (2559). “เครือข่ายสังคมออนไลน์”. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 : 51-61.
ฉัฐมณฑน์ ตั้งกิจถาวร. (2557). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลที่ถูกแชร์ (Shared) ผ่านเฟซบุ๊ก. การค้นคว้าอิสระการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นคร ธนเสรีชัย. (2533). [ออนไลน์]. อินเตอร์เน็ตกับโลกยุคปัจจุบัน. สืบค้นจาก http://nakhon019.blogspot.com/p/blog-page_7776.html.
ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน กระบวนการและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
พิชญะภาคย์ พิพิธพัฒน์ไพสิฐ และ กุลธิดา ท้วมสุข. (2559). “การพัฒนาเทคโนโลยีเว็บในยุค 2.0.” วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 : 1-22.
ระวีวรรณ แก้ววิทย์. (2553). [ออนไลน์]. เทคโนโลยีการพัฒนาการของเว็บไซต์ web 2.0. สืบค้นจาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/30_2/pdf/aw31.pdf.
วิภาวี จันทร์แก้ว. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์ กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจดังตฤณแฟนคลับ. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 : 134-152.
วิมลพรรณ อาภาเวท สาวิตรี ชีวะสาธน์ และชาญ เดชอัศวนง. (2554). พฤติกรรการสื่อสารในเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วิรัช ตุลยานนท์. (2524). [ออนไลน์]. ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ. สืบค้นจาก http://www.mol.go.th/employee/information_disabilitie.
ศศโสฬส จิตรวานิชกุล. (2542). การศึกษาพฤติกรรม ความสนใจ และความต้องการในการเปิดรับสื่อของคนตาบอดในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาระน่ารู้ประจำสัปดาห์. (2553). [ออนไลน์]. ยุคอินเตอร์ Social Network. สืบค้นจาก http://kunlathonstory.blogspot.com/2013/12/social-network.html.
สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กระจายข้อมูลในกลุ่มเยาวชน. วารสารร่มพฤกษ์. ปีที่ 34ฉบับที่ 2 : 12-32.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2537). [ออนไลน์]. เทคโนโลยีการสื่อสาร. สืบค้นจาก https://thanetsupong.wordpress.com.
อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. (2553). สื่อสังคมออนไลน์. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/saowaluk571031476/khwam-hmay-khxng-sux-sangkhm-xxnlin-social-media
อนุชิต ชาบาเหน็จ. (2555). การจัดการความรู้ สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ.
Bourne, L. (2014). Women are driving the growth of social media, new report says. Available from : http://stylecaster.com/women-socialmedia/#ixzz3i0NZTwmO

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-26