การสร้างสรรค์สติกเกอร์ไลน์สำหรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ ตู้ทอง สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • จักรีรัตน์ แสงวารี สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

สติกเกอร์ไลน์, ความพึงพอใจ, นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสติกเกอร์ไลน์สำหรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษานิเทศศาสตรมหาบัณฑิตต่อสติกเกอร์ไลน์ ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน 23 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร ผลการวิจัยพบว่า 1) สติกเกอร์ไลน์สำหรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ กลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตร มี 3 ลักษณะ และกลุ่มนักศึกษา มี 15 ลักษณะ ซึ่งสติกเกอร์ไลน์สามารถรองรับแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือระบบไอโอเอส และแอนดรอยด์ และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อสติกเกอร์ไลน์ชุดเคบียูดอทเอ็มซีเอ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบและความหมาย ด้านความน่าสนใจ และด้านการใช้งานของสติกเกอร์ไลน์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อแก่นความคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้ง 2 กรุงเทพมหานคร :
เอดิสัน เพรส โพรดักส์
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดี
และข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร. 33(4), 42-54
อังสุมาลิน ศิริมงคลกิจ. (2560). กําเนิดแอปพลิเคชัน “ไลน์”. สืบค้นจาก http://guru.sanook.com.
Faber, R. (2000). The urge to buy: A uses and gratifications perspective on compulsive buying. In S. ratneshwar, D. G. Mick, & C, Huffman (Eds.), The why of consumption (pp.177-196). London: Routledge.
Greene, K., & Krcmar, M. (2005). Predicting exposure to and liking of media violence: A uses and gratification approach. Communication Studies. 56, 71- 93.
Haridakis P, Rubin A. (2005). Third-person effects in the aftermath of terrorism. Mass Communication & Society. 8, 39–59.
Rapeepat Khamlar. (2014). กลยุทธ์โฆษณาแฝงเพื่อสร้างความภักดีในแบรนด์ธุรกิจ กรณีศึกษา การออกแบบคาแรคเตอร์ สติกเกอร์บนไลน์แอปพลิเคชัน. สืบค้นจาก http://www.mediaartsdesign.org/project_detail.php?project_id=487

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-25