รูปแบบการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนนักศึกษาในโครงการคนทันสื่อ
คำสำคัญ:
การรู้เท่าทันสื่อ, นักเรียนนักศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ภายใต้การดำเนินโครงการพัฒนากลไกการรู้เท่าทันสื่อวิทยุโทรทัศน์สำหรับประชาชน ”คนทันสื่อ” ร่วมกับสำนักงาน กสทช. และมหาวิยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รวมถึงการใช้การวิจัยเอกสาร การจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำกิจกรรมไปสู่การปฏิบัติ เพื่อถอดบทเรียนรูปแบบการรู้เท่าทันสื่อที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ มีรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ การรณรงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การแสดง การผลิตหนังสั้น ฯลฯ โดยสามารถสรุปจำแนกเป็นประเภทรูปแบบ ในการส่งเสริมการเท่าทันสื่อของนักเรียนนักศึกษาแต่ละสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ได้แก่ 1) รูปแบบกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญ มุ่งเน้นให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในสถานศึกษา 2) รูปแบบกิจกรรมการผลิตสื่อ จัดทำสื่อ หนังสั้น สปอตวิทยุ เป็นกิจกรรมที่แกนนำนักเรียน นักศึกษา โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนในสาขานิเทศศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันก็มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งจัดกิจกรรมประเภทนี้ และ 3) รูปแบบกิจกรรมการแสดงบนเวที อาทิ การประกวดสุนทรพจน์ และการแสดงศิลปวัฒนธรรม ของนักเรียนนักศึกษาในแต่ละสถาบันการศึกษาที่มีความโดดเด่น หรือมีเอกลักษณ์ในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของตัวเอง
References
จินตนา ตันสุวรรณนนท์ (2551). ผลการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 14(1), 21-32.
ธาม เชื้อสถาปนศิริ และคณะ. (2552) รู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร : ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.
โตมร อภิวันทนากร. (2552) คิดอ่าน ปฏิบัติการเท่าทันสื่อ คู่มือสำหรับจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้ทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มมานีมานะ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พรทิพย์ เย็นจะบก. (2552). ถอดรหัสลับความคิดเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ คู่มือการเรียนรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร : ออฟเซ็ท ครีเอชัน.
วรัชญ์ ครุจิต. (2554). 10 แนวทางรู้ เท่าทันสื่อ ประยุกต์ใช้ในห้องเรียน ใน รู้เท่าทันสื่อ: รวมบทความ แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และประสบการณ์ด้านการรู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธีเพื่อการพัฒนาเด็ก.
สุปราณี วัฒนสิน. (2558). รายงานการดำเนินโครงการพัฒนากลไกการรู้เท่าทันสื่อวิทยุ-โทรทัศน์สำหรับประชาชน คนทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). 100 เรื่องน่ารู้ ผู้บริโภคสื่อวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต