การวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน กรณีศึกษา: รายการโทรทัศน์ “ตาต้า ตีตี้ โตโต้ ไดโนจอมป่วน” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ผู้แต่ง

  • ทศพร ไชยเดช วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

รายการโทรทัศน์เพื่อเด็กก่อนวัยเรียน, พัฒนาการของเด็ก, การศึกษาในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการในการนำเสนอในรายการ “ตาต้า ตีตี้ โตโต้ ไดโนจอมป่วน” 2) ศึกษาเนื้อหาในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กของรายการ “ตาต้า ตีตี้ โตโต้ ไดโนจอมป่วน” และ 3) ศึกษาแนวทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ปรากฏในรายการ “ตาต้า ตีตี้ โตโต้ ไดโนจอมป่วน” ในแนวคิดที่เกี่ยวกับ รูปแบบและเนื้อหาของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก และ แนวคิดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยมีวิธีวิจัย คือ การวิเคราะห์เนื้อหารายการตัวอย่างและการสัมภาษณ์ผู้ผลิตรายการและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนารายการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ผลการวิจัยพบว่า วิธีการนำเสนอรายการ เป็นรายการหุ่นเชิด มีภาพนิ่ง มีเพลงประกอบ มีคำบรรยายใต้เพลง มีกราฟิก มีการใช้สีสัน มีการใช้เสียงบรรยาย และใช้บทเพลงเพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญๆ ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตัวละครหลัก คือ ซุปเปอร์ฮีโร่ ไดโนเสาร์ 3 พี่น้อง ที่ลักษณะพิเศษเป็นตัวแทนของการเรียนรู้ รู้จักตนเอง การมีบทบาทในครอบครัว สังคม และการเป็นผู้นำ มีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สุภาพ เพื่อกระตุ้นความสนใจ และการจดจำมากขึ้น เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวการผจญภัยในเหตุการณ์สมมติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นำมาสู่การเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้านและเน้นไปในเรื่องของความสามารถทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ด้านเนื้อหารายการที่ปรากฏตามแนวทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า เป็นทั้งเนื้อหา และกระบวนการเล่าเรื่อง เน้นการสร้างการมีส่วนร่วม การที่มีกลไกของการเล่น และการวัดผลหรือทำให้เห็นผล ซึ่งช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน และทักษะสำคัญตามแนวทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน กลุ่มทักษะที่ต้องนำมาใช้ในการจัดการกับปัญหา กลุ่มทักษะที่ใช้ในการจัดการตัวเองกับสภาพสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อม

References

เข็มพร วิรุณราพันธุ์. (2555). [ออนไลน์]. รายงานฉบับสมบูรณ์จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก: ศึกษาเปรียบเทียบโทรทัศน์ดิจิทัลช่องที่ได้รับความนิยม ช่วงตุลาคม 2557 และมกราคม 2558. สืบค้นจาก https://www.nbtc.go.th/getattachment/Information/.pdf.aspx
วรัชญ ครุจิต. (2555). โครงการศึกษากลุ่มความคิดใหม่และข้อเสนอแนะเชิงบูรณาการ เพื่อการพัฒนาอย่างยังยืนต่อรูปแบบเนื้อหารายการโทรทัศน์ สื่อสำหรับเด็กและเยาวชนในอนาคตของสถานีโทรทัศน์) เพื่อให้บริการสาธารณะไทยพีบีเอส. เสนอต่อสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
สินีนาฏ เทพบุญ. (2553). การวิเคราะห์เนื้อหา รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2559). [ออนไลน์]. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2559. สืบค้นจาก https://org.thaipbs.or.th/announce/annualreport/1664
อิทธิพล ปรีดีประสงค์. (2555). ร่าง คู่มือพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและเรียนรู้สำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร : สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26