กระบวนการเรียนรู้ดิจิทัลตามแนวคิดคอนเน็กติวิสต์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปณิตา วรรณพิรุณ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ดิจิทัล, คอนเน็คติวิสต์, เทคโนโลยีคลาวด์, นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอกระบวนการเรียนรู้ดิจิทัลตามแนวคิดคอนเน็กติวิสต์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ และ 2) เพื่อเป็นกรอบในการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล สำหรับนำไปปรับใช้กับสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ การเรียนรู้ดิจิทัล คอนเน็คติวิสต์ คลาวด์เทคโนโลยี และนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบ
การเรียนรู้ PPAC Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การวางแผน ประกอบด้วย 1.1) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ดิจิทัล 1.2) สื่อและเนื้อหา 1.3) ผู้สอนและผู้เรียน 1.4) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ ประกอบด้วย 2.1) ขั้นปฐมนิเทศ 2.2) ขั้นเชื่อมต่อการเรียนรู้ดิจิทัล ประกอบด้วย 2.2.1) ขั้นเรียนรู้ 2.2.2) ขั้นสืบค้นความรู้ 2.2.3) ขั้นลงมือสร้างสื่อสร้างสรรค์ 2.2.4) ขั้นค้นพบปัญหา 2.2.5) ขั้นค้นหาวิธีการแก้ปัญหา และ 2.2.6) ขั้นค้นพบการแก้ปัญหา องค์ประกอบที่ 3 ขั้นประเมินผล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และองค์ประกอบที่ 4 นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). [ออนไลน์]. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER088/GENERAL/DATA0000/00000498.PDF.
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2561). รูปแบบการเรียนรู้ดิจิทัลตามแนวคิดคอนเน็กติวิสต์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์. วารสารมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (29). 221-228.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสมีเดีย.
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2559). เมื่อ Thailand 4.0 ถูกขับเคลื่อนด้วย Education 2.0. สานปัญญา จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้. 2(26), 1-4.
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). การคิดและการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ทวีป อภิสิทธิ์. (2559). กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นคร เสรีรักษ์. (2555). วิจัยไม่ใช่เรื่องยาก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพดล เหลืองภิรมย์. (2555). การจัดการนวัตกรรม Innovation Management. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลพับบลิชชิ่ง.
บดินทร์ รัศมีเทศ. (2550). การจัดการเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : แสงดาว.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2552). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี.
พยัต วุฒิรงค์. (2557). การจัดการนวัตกรรม INNOVATION MANAGEMENT. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส
พับลิเคชันส์
วรปภา อารีราษฎร์. (2555). [ออนไลน์]. แอปพลิเคชัน (Application) คืออะไร. สืบค้นจาก http://www.itrmu.net/it/index.php/2012-06-26-03-33-40/93-tablet1
ศรีสุรางค์ ทีนะกุล. (2542). การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การเรียนรู้เทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งขาติ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ต้นแบบ
การเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
อภิรักษ์ ปนาทกูล. (2556). Design Mobile App. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ทรูไลฟ์.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร :
ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Barrie Sosinsky. (2011). Cloud Computing Bible. 1st ed. Indianapolis. Wiley Publishing, Inc.
Christensson, P. (2008). [Online]. Application Definition. Retrieved from https://techterms.com
Dan C. Marinescu (2013). Cloud Computing Theory and Practice. 1st ed. The United States of America.
Gaubinger, K., Rabl, M., Swan S., and Werani T. (2015). Innovation and Product Manage-ment. 1st ed. New York: Dordrecht London.
Guilford, J. P. (1968). Creativity, intelligence and their educationalimplications. San Diego, CA: EDITS=Knapp
Lee Chao. (2012). Cloud Computing for Teaching and Learning: Strategies for Design and
Implementation. 1st ed. The United States of America.
Michael Miller. (2008). Cloud Computing Web-Based Applications That Change the Way You Work and Collaborate Online. 1st ed. The United States of America.
Nawin Kongrugsa, Prachyanun Nilsook, and Panita Wannapiroon. (2016). Designing a Knowledge Review, Based on Connectivism of Cloud Computing for Developing Critical Thinking. International Journal of Information and Education Technology. IJIET 2016, 6(6): 492-495.
Rongxia Zhuang and et al. (2016). The framework of digital learning capacity for digital natives. International Conference on Advanced Learning Technologies, 386-390.
Siemens, G. (2005). Connectivism: A learning theory for the digital age. International Journal of Instructional Technology and Distance Learning. 2(1): 3-10.
Snit Sitti, Saroch Sopeerak, Narong Sompong. (2013). Development of Instructional Model Based on Connectivism Learning Theory to Enhance Problem-solving Skill in ICT for Daily Life of Higher Education Students. Procedia - Social and Behavioral Sciences 103 (2013). 315 – 322.
Syed A. Ahson and Mohammad Ilyas. (2011). Cloud Computing and Software Services Theory and Techniques. 1st ed. The United States of America.
Watjanarat Kuandee and Panita Wannapiroon. (2015). System Analysis of Open Educational Resources Management System for Higher Education Based on Cloud Technology. The Sixth TCU International e-Learning Conference 2015. 335-339.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26