การพัฒนาระบบถามตอบอัตโนมัติเพื่อประชาสัมพันธ์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • โอปอ กลับสกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • อัมรินทร์ เพ็งสุข คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • อรรถพล อุบลรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ณัฐดนัย ใจยงค์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ระบบถามตอบอัตโนมัติ, แมชชีนเลิร์นนิง, ภควันตภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบระบบถามตอบอัตโนมัติ 2) พัฒนาระบบถามตอบอัตโนมัติ และ 3) ประเมินประสิทธิภาพระบบถามตอบอัตโนมัติเพื่อประชาสัมพันธ์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนวการศึกษาต่อ จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด จำนวน 5 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินคุณภาพของแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบ ผลการวิจัยพบว่า ระบบถามตอบอัตโนมัติเพื่อประชาสัมพันธ์ หลักสูตรสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ กลุ่ม 1) ส่วนผู้ดูแลระบบ 2) ส่วนเจ้าหน้าที่ และ 3) ส่วนผู้ใช้งาน โดยระบบมีประสิทธิภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}=4.26, S.D.=0.61) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการออกแบบระบบ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.43, S.D.=0.59) 2) ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันของระบบ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.29, S.D.=0.52) 3) ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.00, S.D.=0.65) และ 4) ด้านความปลอดภัยของระบบ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.30, S.D.=0.66)

References

จักรพันธ์ สาตมุณี และสิริลักษณ์ บริรักษ์. (2562). การพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารงานประชาสัมพันธ์สถาบันการศึกษา. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 6(1), 60-68.
จักรินทร์ สันติรัตนภักดี. (2561). การตลาดออนไลน์และบริการลูกค้าด้วยแช็ตบอทกรณีศึกษา: การใช้ Chatfuel ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านเมสเซนเจอร์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 10, 71-87.
ชัยยศ จระเทศ. (2555). ระบบฐานข้อมูลหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธนภัทร บุศราทิศ. (2559). อิทธิพลของการสื่อสารเนื้อหาโปรแกรมลูกค้าสัมพันธ์ ผ่านสื่อ Chatbot ต่อระดับการมีส่วนร่วมของลูกค้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตลาดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นวพร เพชรมณี และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2553). Ubiquitous Learning อัจฉริยะแห่งการล่วงรู้บริบท. วารสารวิทยบริการ. 21(1), 23–32.
Arthur, W. B. (2011). The nature of technology: What it is and how it evolves. New York: Free Press.
Gartner. (2017). Customer Experience Management - CEM - Gartner IT Glossary. Available from URL: http://www.gartner.com/it-glossary/customer-experiencemanagement-cem.
Karehka, R. (2013, December 12). What Is Technology - Meaning of Technology and Its Use - Use of Technology. Available from URL: http://www.useoftechnology.com/what-is-technology.
Rajatanavin, R. (2015). The Risk of False Conception of Consumer Products Circulated in Social Media. Sripatum Review of Humanities and Social Sciences, 15, 89-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26