เทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่งกับการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • วรรณวิศา วัฒนสินธุ์ สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปณิตา วรรณพิรุณ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่ง, จินตวิศวกรรม, นวัตกรรมสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เกี่ยวกับเทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่ง มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ตามกระบวนการจินตวิศวกรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ กระบวนการจินตวิศวกรรม ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) การจินตนาการ การเสนอแนวคิด และกำหนดนวัตกรรมที่ต้องการพัฒนา ด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่งเชื่อมต่อสื่อสารกับสิ่งของต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2) การออกแบบ 3) การพัฒนา 4) การนําเสนอ 5) การปรับปรุง และ 6) การประเมินผล เมื่อผู้เรียนผ่านกระบวนการจินตวิศวกรรม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) ความคล่องแคล่วในการคิด 2) ความคิดยืดหยุ่นในการคิด 3) ความคิดริเริ่ม และ 4) ความคิดละเอียดลออ สามารถนำเทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่งมาอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และสร้างนวัตกรรมได้ โดยการใช้การเข้าถึงข้อมูลมหาศาลได้ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ และสามารถเขียนโปรแกรมให้อุปกรณ์สามารถสื่อสารและใช้งานร่วมกันได้

References

กองวิจัยทางการศึกษา. (2536). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ของนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2559). เมื่อ Thailand 4.0 ถูกขับเคลื่อนด้วย Education 2.0. สืบค้นจาก URL: bit.ly/2ld94X3
จรูญ วงศ์สายัณห์. (2520). การศึกษากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2521). หลักการทฤษฎีเทคโนโลยีและนวกรรมทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
ถิรพิรุฬห์ ทองคำวิฑูรย์. (2559). เทคโนโลยี Internet of Things และข้อเสนอแนะในการบริหารคลื่นความถี่ ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ กสทช. ประจำปี 2559, 167-195.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. นนทบุรี: เอสอาร์ พริ้นติ้ง.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 25(86), 33-37.
พันธุ์อาจ ชัยรัตน์. (2547). “บทนำ เบื้องต้นของการจัดการนวัตกรรม”. การจัดการนวัตกรรม สำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
วอนชนก ไชยสมุทร. (2558). Internet of Things เมื่อทุกสิ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต. วารสารครุศาสตร์ อุตสาหกรรม. 14(2), 727-733.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ, (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อ การเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 33(128).
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธณ์. (2537). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2549). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
อารี พันธ์มณี. (2537). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ.
Ashthon K. (2009). That ‘internet of things’ thing. RFiD Journal, 22(7), 97-114
Buyya, Rajkumar., Vahid Dastjerdi, Amir. (2016). Internet of things: principles and paradigms. Amsterdam: Morgan Kaufmann.
Guilford, J.P. (1956). Structure of Intellect Psychological. New York: McGraw-Hill Book Co. iot-analytics.com
Morton, J.A. (1971). Organization for Innovation: A Systems Approach to Technical Management. New York: McGraw-Hill.
Rose, Karen., Eldridge, Scott., Chapin, Lyman. (2015). The Internet of Things (IoT): An Overview Understanding the Issues and Challenges of a More Connected World. Available from URL: http://www.internetsociety.org/iot
Scully, Padraig., Lueth, Knud Lasse. (2016). Guide to IoT Solution Development. Available from URL: https://iot-analytics.com/wp/wp-content/uploads/2016/09/White-paper-Guide-to-IoT-Solution-Development-September-2016-vf.pdf
Torrance, E.P. and R.E. Myers. (1962). Creative Learning and Teaching. New York: Good, Mead and Company.
Wallach, Michael A. and kogan Nathan. (1965). Model of Thinking in Young Children. New York: Holt, Rinehartandwinston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26