การสื่อสารอัตลักษณ์วัยรุ่นผ่านมิวสิควิดีโอเพลงฮิปฮอปที่ใช้ภาษาไทยท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • อิศเรศ แนวกันยา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ลักษณา คล้ายแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, อัตลักษณ์, ฮิปฮอป, ภาษาไทยท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อัตลักษณ์ผ่านภาษาไทยท้องถิ่นในเนื้อเพลงฮิปฮอป และ 2) ศึกษามิวสิค วิดีโอเพลงฮิปฮอปที่มีการใช้ภาษาถิ่นไทยในการสื่อความหมายถึงอัตลักษณ์ความเป็นวัยรุ่นไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการวิเคราะห์ตัวบทจากมิวสิควิดีโอเพลงฮิปฮอปไทยที่มีภาษาไทยท้องถิ่น 6 เพลง โดยแบ่งเป็นเพลงที่ใช้ภาษาคำเมือง ภาษาอีสาน และภาษาปักษ์ใต้ พื้นที่ละ 2 เพลง ซึ่งใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์จากแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ แนวคิดเรื่องจิตวิทยาวัยรุ่น และทฤษฎีสัญวิทยา ผลจากการศึกษาสามารถแบ่งแยกเป็นประเด็นตามอัตลักษณ์การใช้ชีวิตได้ 2 ประเด็น ได้แก่ ความมุมานะพยายามทำอย่างสุดความสามารถ และความกล้าที่จะแตกต่าง อัตลักษณ์ในด้านความรักสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็น คือ ความพยายามต่อสู้เพื่อให้สมหวังในความรัก และการดำเนินชีวิตเมื่อผิดหวังในความรัก ส่วนอัตลักษณ์ด้านการสื่อสารสังคมสามารถแบ่งเป็น 2 ประเด็น คือ การสื่อสารความภาคภูมิใจในถิ่นกำเนิด และการสื่อสารความรู้สึกคิดถึงบ้านเกิด นอกจากนี้ การนำมิวสิควิดีโอมาใช้ในการสื่อสารยังเป็นส่วนขยาย และเติมเต็มเนื้อเพลงให้มีความสมบูรณ์ของการสื่อสารอัตลักษณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และวัฒนธรรมในสังคมแต่ละท้องถิ่น

References

กฤษฏิ์ เลกะกุล. (2561). Rap Hip Hop Think ลำนำสะท้อนชีวิตแอฟริกัน-อเมริกัน สู่บทเพลงแห่งเสรีภาพในสังคมไทย. สืบค้นจาก URL: https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/rap-hiphop-think-tank
ฉันทัส ทองช่วย. (2534). ภาษาและอักษรถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล. (2559). พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น. สืบค้นจาก URL: http://www.smartteen.net/main/_admin/download/4-30-1387795341.pdf
พรรณพิมล หล่อตระกูล. (2541). ปัจจัยทางจิตสังคมในเด็กและวัยรุ่นที่มารับบริการที่ศูนย์สุขวิทยาจิต. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 43(3), 26-39.
รัตนา หาญสวัสดิ์. (2551). ศิลปะกราฟฟิติ : พื้นที่และการสร้างความเป็นชายของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลำเพลิน วงศกร. (2562). เพลงอ้ายพามาเขาพาไป. สืบค้นจาก URL: https://www.youtube.com/watch?v=tMAU1wskvGI
สาริตา สวัสดิกำธร. (2549). เนื้อหาเพลงและอัตลักษณ์แฟนเพลงฮิปฮอปในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยเดว ทรีปาตี. (2554). รู้จักเด็กทั้งตัวและหัวใจ : พัฒนาการของเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2549). สถานการทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 25(2).
RAPESAN. (2559). เพลงสาวภูไท. สืบค้นจาก URL: https://www.youtube.com/watch?v=PuG7IPukrvI
SNOOPKING. (2558). เพลงคำกำเมือง. สืบค้นจาก URL: https://www.youtube.com/watch?v=L76--xZDtB8
SNOOPKING. (2558). เพลงศิลปินตีนดอย. สืบค้นจาก URL: https://www.youtube.com/watch?v=2-JHUfITrtc
TEMMAX. (2560). เพลงหลบบ้าน. สืบค้นจาก URL: https://www.youtube.com/watch?v=CuJFnzUMOsI
TEMMAX. (2562). เพลงลูกท้อน สืบค้นจาก URL: https://www.youtube.com/watch?v=Ty5vaBS20Z0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-20