อิทธิพลของปัจจัยการสื่อสารที่ใช้เสียงเป็นสื่อกลางระหว่างบุคคลกับนกปรอดหัวโขน

ผู้แต่ง

  • พิศาล พันธุ์วัฒนา คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

นกปรอดหัวโขน, การสื่อสารโดยใช้เสียงนก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของตัวแปรคุณลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร กลุ่มในการสื่อสาร ภาษานก และการสื่อสารโดยใช้เสียงนก และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร กลุ่มในการสื่อสาร และภาษานกที่มีต่อการสื่อสารโดยใช้เสียงนก เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้เลี้ยงนกปรอดหัวโขนที่ใช้เสียงร้องของนกเป็นสื่อกลางใน การสื่อสารจำนวน 67 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น และการวิจัย เชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีโครงสร้าง และบันทึกความจำ ผลการ วิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปของประชากรเป้าหมายส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41–60 ปีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือ สูงกว่า ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีประสบการณ์เลี้ยงนก 6–10 ปีซึ่งหากเป็นคนในแวดวงนกจะคลุกคลีกับวงการมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เป็นที่รู้จักของคนในวงการนกระดับปานกลาง เข้าร่วมทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับนกในบางครั้ง โดยมีตำแหน่งเป็น คณะกรรมการและเคยผ่านการจัดงานนกเพื่อสาธารณประโยชน์ ส่วนบุคคลทั่วไปส่วนใหญ่พบว่ามีความสนใจในการเลี้ยง นกปรอดหัวโขนในระดับปานกลาง เคยเลี้ยงนกชนิดนี้มามากกว่า 5 ปีได้ข้อมูลการเลี้ยงนกจากสื่อมนุษย์และมีความรู้ ทั่วไปเกี่ยวกับนกปรอดหัวโขนระดับปานกลาง 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารโดยใช้เสียงนกประกอบด้วยประสบการณ์ ความรู้เกี่ยวกับสาร เสียงร้อง เสียงเรียก และการตีความซึ่งมีอิทธิพลต่อการสื่อสารโดยใช้เสียงนกถึงร้อยละ 45.80

References

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2558). การสร้างมาตรวัดสำหรับการวิจัยที่ถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
สุชาติประสิทธิ์รัฐสินธุ์และกรรณิการ์สุขเกษม. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ : การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
Agarwal, J., Osiyevskyy, O., & Feldman, P. (July 2015). Corporate reputation measurement: Alternative factor structures, nomological validity, and organizational outcomes. Journal of Business Ethics. 130(2), 485-506.
Brichenall, L. A. (October 2016). Animal communication and human language: An overview. International journal of comparative psychology. 29(4), 1-26.
Caspar, R., et al. (2016). [Online]. Cross-Cultural Survey Guideline: Pretesting. Available from http://www.ccsg.isr.umich.edu/image s%5cpdfs%5CCCSG_PRetesting.pdf
Creswell, J. (2014). [Online]. Research design: qualitative, quantitative and mixed methods approaches. 4th ed. Available from https://www.amazon.com/ Research-Design-Qualitative-Quantitative-Approaches/dp/145222
Fusch, P. I., & Ness, L. R. (September 2015). Are we there yet? Data saturation in qualitative research. The Qualitative Report. 20(9), 1408-1416.
Janan, A., Hample, D., & Cionea, L. A. (January 2016). Understanding argumentation in interpersonal communication: The implications of distinguishing between public and personal topics. Journal of the International Communication Association. 38(1), 145-173.
Kamtaeja, S., et al. (October 2012). Species-distinctiveness in the vocal behaviour of six sympatric bulbuls (genus Pycnonotus) in South-East Asia. Journal Compilation BirdLife Australia. 11(10), 78-92.
Palinkas, L. A., et al. (May 2015). Purposeful sampling for qualitative data collection and analysis in mixed method implementation research. Adm Policy Ment Health. 42(5), 533–544. Pepperberg, I. M. (2016). Animal language studies: What happened?. Available from http://alexfoundation.org/wp-content/uploads/2016/07/animal-language-Studies-Opi non.pdf
Ratcliffe, E. (2015). Restorative perceptions and outcomes associated with listening to birds. Doctor of philosophy school of psychology faculty of arts and human sciences university of surrey.
Riebel, K. (April 2016). Understanding sex differences in form and function of bird song: The importance of studying song learning processes. Frontiers in Ecology and Evolution. 62(4), 1-6.
Schramm, L. L. (2000). Surfactants: Fundamentals and applications in the petroleum industry. Cambridge : United Kingdom at the University press.
Schutten, J. K. (2015). [serial online]. Perspectives on human – animal communication: Internatural communication. Journal Environmental Communication. 9(1), 137-139. Available from http://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/1 7524032.2014.1002242

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26