การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริมร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

ผู้แต่ง

  • นิตยา ย้อยแก้ว สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐพล รำไพ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม, การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, ทักษะการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม เรื่องสำนวนที่มีคุณภาพเหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม เรื่องสำนวนไทยร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถาม 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม เรื่องสำนวนไทย 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t- Test โดยประมวลผลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม เรื่องสำนวนไทย มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=4.25) และมีคุณภาพด้านเทคนิคอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}=4.51) ส่วนผลการหาประสิทธิภาพได้ผลเท่ากับ 89.83/90.32 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริม มีค่าเท่ากับ 0.82 แสดงว่า สื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริมทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 82 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.51)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก URL: http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75,
จันทกานต์ สถาพรวจนา และสกนธ์ ม่วงสุน. (2557). การออกแบบและพัฒนาหนังสือเรียนที่เทคโนโลยีอ๊อคเมนต์เตดเรียลริตี้ ในการนำเสนอภาพประกอบแบบสามมิติ. (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
นพรัตน์ ย้อยพระจันทร์. (2560). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เปรื่อง กุมุท. (2553). ประมวลสาระชุดวิชา 27712 เทคโนโลยีและสื่อสารการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุบล ทองปัญญา (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนด้วยสื่อความเป็นจริงเสริมในระดับอุดมศึกษา. สืบค้นจาก URL: http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/d2d5f4badeb9d6db95fbeb0b86520df3.pdf
อุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ และสรเดช ครุฑจ้อน. (2560). การพัฒนาสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง 2 มิติ แบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชาติ ครั้งที่ 1 การสร้างสรรค์และนวัตกรรมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-14