การพัฒนาแอปพลิเคชันแผนที่สำหรับงานวิ่ง: กรณีศึกษาจอมบึงมาราธอน
คำสำคัญ:
แอปพลิเคชัน, แผนที่, จอมบึงมาราธอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันแผนที่สำหรับงานวิ่ง กรณีศึกษาจอมบึงมาราธอน และประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันแผนที่สำหรับงานวิ่ง กรณีศึกษาจอมบึงมาราธอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ คณาจารย์ และบุคลากรที่ร่วมจัดงานจอมบึงมาราธอน โดยเลือกจากคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ที่ 2611/2562 ฝ่ายอาคาร สถานที่ จราจร ที่พัก ที่จอดรถ และการรักษาความปลอดภัย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความต้องการของฟังก์ชันการทำงาน 2) ด้านฟังก์ชันการทำงาน 3) ด้านการใช้งาน 4) ด้านผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม และ 5) ด้านความปลอดภัย สถิติที่ใชในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลศึกษาและพัฒนาพบวา 1) แอปพลิเคชันแผนที่สำหรับงานวิ่ง กรณีศึกษาจอมบึงมาราธอนมีฟังก์ชันในการเลือกสถานที่เป็นหมวดหมู่ ได้แก่ ที่จอดรถ ที่พัก จุดลงทะเบียน บริการอื่นๆ จากนั้นจะแสดงแผนที่ และจุดหมาย อีกทั้งเชื่อมต่อ API Google Map ในการแสดงเส้นทาง และ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน ด้านความต้องการของฟังก์ชันการทำงาน อยู่ในระดับดี (=4.41) โดยแอปพลิเคชันสามารถประมวลผลรายการได้ถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในระดับดีมาก (=4.66, S.D.=0.48) ด้านฟังก์ชันการทำงาน อยู่ในระดับดี (=4.38) โดยแอปพลิเคชันมีความรวดเร็วในการประมวลผลอยู่ในระดับดีมาก (=4.60, S.D.=0.50) ด้านการใช้งาน อยู่ในระดับดี (=4.39) โดยความง่ายต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน อยู่ในระดับดีมาก (=4.66, S.D.=0.48) ด้านผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม อยู่ในระดับดี (=4.39) โดยผลลัพธ์ที่ได้ช่วยลดเวลาและทรัพยากรในการทำงาน อยู่ในระดับดี (=4.46, S.D.=0.51) และด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับดี (=4.22) โดยการควบคุมให้ผู้ใช้ใช้งานตามสิทธิของตนอยู่ในระดับดี (=4.40, S.D.=0.63)
References
ธนกฤต โพธิ์ขี. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ “Taladnut Night Market”. สืบค้นจาก URL: http://www.northbkk.ac.th/research_/themes/downloads/abstract/ 1535452217_abstract.pdf.
พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ ปณัชญา เชื้อวงษ์ และธานิล ม่วงพูล. (2562). แอปพลิเคชันคำนวณยากลุ่มเสี่ยง. Journal of Project in Computer Science and Information Technology. 5(1), 42-51.
ภาวิณี นาคชุ่ม วรนุช จันทร์โอ และสุกัญญา เจริญกิจธนลาภ. (2558). การพัฒนาระบบสืบค้นโครงงานสหกิจศึกษาผ่านแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ยศวรรธน์ ชาวส้าน. (2562). แอพพลิเคชันแนะนำร้านอาหารเจในกรุงเทพมหานครบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. (น.1932-1944). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สายฝน พรมเทพ, กฤติกา สังขวดี และปัญญา สังขวดี. (2559). การพัฒนาแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เรื่องกีฬาแบดมินตัน. การประชุมสัมมนาวิชาการราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุทธิพงศ์ สุวรรณเดชากุล. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานของช่างไฟฟ้าการประปาส่วนภูมิภาคเขต 5. สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก URL: http://www.nso.go.th/ sites/2014/DocLib13/ด้านICTเทคโนโลยีในครัวเรือน/2561/ict61-CompleteReport-Q1.pdf
Runningconnect. (2563). ประวัติจอมบึงมาราธอน. สืบค้นจาก URL: http://www.runningconnect.com/event/CBM2020.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต