รูปแบบการรับน้องสร้างสรรค์และการสร้างภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผู้แต่ง

  • อัญชุลี วงษ์บุญงาม คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบการรับน้อย, การรับน้องสร้างสรรค์, ภาพลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมรับน้องของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และเพื่อศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์ และสร้างภาพลักษณ์จากกิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้จัดกิจกรรมรับน้องไม่มีแผนประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ นอกเหนือจากกิจกรรมรับน้องปี 1 แล้วทุกสาขายังมีกิจกรรมการรับน้องปี 2 เข้าสาขาด้วย กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องเพราะต้องการสร้างความรู้จัก ความสนิทสนมกับเพื่อนและรุ่นพี่ กิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์กลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่ รวมถึงกลุ่มบุคคลภายนอกคิดว่าควรจัดกิจกรรมสันทนาการ และกิจกรรมวิชาชีพที่มีประโยชน์ต่อชุมชนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านวิชาชีพ

References

ชูชีพ เยาวพัฒน์. (2548). การศึกษาพฤติกรรมการรับน้องใหม่ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา (ต่อเนื่อง) ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ. (2558). ระบบโซตัส (SOTUS) อำนาจนิยมและความรุนแรงในวงการศึกษาไทย. ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. สืบค้นจาก URL: https://www.tcijthai.com/news/ 2015/08/article/5763.
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน และนันทยุทธ หะสิตะเวช. (บรรณาธิการ). (2556). ชุดคู่มือการจัดกิจกรรมเสริมทักษะเยาวชนชอบเล่นเกม สำหรับผู้ปฏิบัติงานสุขภาพจิตวัยรุ่นในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสุขภาพจิตแด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์.
บุรฉัตร จันทร์แดงและคณะ. (2562). กรอบแนวคิดการวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(1), 49-60.
พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2556). กลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ การสร้างและรักษาชื่อเสียงองค์กรสำหรับการแข่งขันในเวทีโลกและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2559). ราชมงคลพระนครสุดเจ๋งติดอันดับ 1 มหาวิทยาลัยราชมงคล. สืบค้นจาก URL: https://www.rmutp.ac.th/web2558/2016/02/ราชมงคลพระนครสุดเจ๋ง-ติ/
รัตนาวดี ศิริทองถาวร. (2548). การประชาสัมพันธ์ธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารการศึกษา. 28(2), 36-49.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2556). การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้น (1991).
Epstien, R. and Rogers, J. (2009). The Big Book of Motivation Games. แปลโดย ณัฐวรรธน์ กิจรัตน โกศล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์.
Sanook. (2559). การรับน้องระบบ Sotus (โซตัส) คืออะไร?. สืบค้นจาก URL: http://www.sanook.com/ campus/1382861/
Tutorcu. (2561). อันดับมหาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์/วารสารศาสตร์/สื่อสารมวลชน. สืบค้นจาก URL: https://www.tutorcu.com/การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของในประเทศไทย-2554-2555/400-การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในของประเทศไทยในแต่ละสาขาวิชา.html
Schwab K. (2019). The Global Competitiveness Report 2019. The World Economic Forum. Available from URL: http://www3.weforum.org/docs/WEF_TheGlobalCompetitiveness Report2019.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-14

How to Cite

วงษ์บุญงาม อ. (2021). รูปแบบการรับน้องสร้างสรรค์และการสร้างภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 6(1), 75–84. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/jmctrmutp/article/view/252155