ภาพและความหมายเชิงสัญญะความเป็นท้องถิ่นผ่านสินค้าวัฒนธรรม ของชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม

ผู้แต่ง

  • พงศ์กฤษฎิ์ พละเลิศ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ชาญ เดชอัศวนง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ภาพความเป็นท้องถิ่น, ตลาดน้ำคลองลัดมะยม, การสื่อสารเชิงสัญญะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาความเป็นท้องถิ่น และวิธีการสื่อความหมายเชิงสัญญะเกี่ยวกับภาพความเป็นท้องถิ่นผ่านสินค้าวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงลึกในปรากฏการณ์จริง เพื่อทำความเข้าใจถึงบริบทต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัย และใช้การวิจัยเอกสารโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ความหมายจากสินค้าท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามกรอบแนวคิดของทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiotic) ผลการวิจัยพบว่า ภาพความเป็นท้องถิ่นในสินค้าวัฒนธรรมมีเนื้อหาปรากฏให้เห็น 3 ประการที่สำคัญ ได้แก่ 1) ความเป็นธรรมชาติ คือ วิถีชีวิตที่ผูกกันกับสายน้ำ การไม่พึ่งพิงเทคโนโลยี และการรักในคุณค่าของต้นไม้เป็นแนวคิดในการสื่อความหมาย 2) วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ที่ประกอบด้วยความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและงานหัตถศิลป์ และ 3) วัฒนธรรมกระแสนิยม โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับการนำเอาของเก่ามาสร้างใหม่ และความหลากหลายมานำเสนอไว้ในสินค้า สำหรับวิธีการสื่อความหมายเชิงสัญญะที่แสดงผ่านแนวคิดสำคัญๆ พบว่า มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การสื่อสารเชิงกระบวนทัศน์ (Paradigmatic) ที่เกิดจากการใช้ชุดขององค์ประกอบย่อยๆ มาสื่อความหมาย 2) การใช้สัมพันธบททางการสื่อสาร (Intertextuality) โดยการนำเอาร่องรอยของตัวบทเก่ามาสร้างเป็นคุณค่าในความหมายใหม่ และ 3) การสร้างคู่ตรงข้าม หรือขั้วแห่งความแตกต่างซึ่งทำให้เห็นภาพของสังคมเมืองกับสังคมท้องถิ่นชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ข้อค้นพบจากการวิจัยจะช่วยขยายมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับการใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นปัจจัยในการส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้พัฒนาอย่างมีความยั่งยืนต่อไปได้

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2554). “ใบเบิกทางของการศึกษาสื่อวัตถุพื้นบ้าน.” ใน สื่อพื้นบ้านในสายตานิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). คู่มือการท่องเที่ยว 15 ตลาดบก 16 ตลาดน้ำ. กรุงเทพมหานคร : กองข่าวสารการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กับการประกอบสร้างสังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์และชาติ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จักรสิน น้อยไร่ภูมิ. (2551). แนวคิดชุมชนเมืองที่พอเพียง : การออกแบบชุมชนเมืองที่ยั่งยืนในรูปแบบของไทย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2551, 177-198.

จิระวรรณ ไชยปรีชาวิทย์. (2560). อิทธิพลของวัฒนธรรมกระแสนิยมที่มีต่อการบริโภคอาหารเคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไชยรัตน์ ส้มฉุน. (2556). ผ้าย้อมคราม มรดกศิลป์ไทยกะเลิง. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นจาก URL: https://www.thairath.co.th/content/373684.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่น กับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ธีรยุทธ บุญมี. (2551). การปฏิวัติสัญศาสตร์ของโซซูร์ เส้นทางสู่โพสต์โมเดอร์นิสม์. กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย.

นิศา ชัชกุล. (2555). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชิด สกุณะพัฒน์ และคณะ. (2554). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : แสงดาว.

ประไพพิมพ์ พานิชสมัย. (2560). การออกแบบอัตลักษณ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประภัสสร เสวิกุล. (2558). สินค้าวัฒนธรรม. คมชัดลึกออนไลน์. สืบค้นจาก URL: https://www.komchadluek.net/news/206183

ปุณยนุชวิภา เสนคำ และเอกพล สิระชัยนันท์. (2560). การศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของชุมชนริมน้ำจันทบูรเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในร้านค้า. สืบค้นจาก URL: https://architservice.kku.ac.th/wp-content/uploads/2017/07/03-Punyanutwipha.pdf

พงศ์กฤษฏิ์ พละเลิศ. (2554). บทบาทการใช้สื่อพื้นบ้านในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของชุมชนตลาดเก้าห้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

มณีรัตน์ ศิริปัญจนะ. (2557). โมเดลกระตุ้นท่องเที่ยว. เดลินิวส์. สืบค้นจาก URL: https://www.dailynews.co.th/article/223343.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2554). การท่องเที่ยวจากนโยบายสู่รากหญ้า. เชียงใหม่ : ล็อคอินดีไซน์เวิร์ด.

ลภัสรินทร์ ฉัตรวังคีรี. (2563). อัตลักษณ์พื้นถิ่นในบันเทิงคดีล้านนา (พ.ศ. 2521-2554). มนุษยศาสตร์สาร, 21(1), 75-95.

วีรพร รอดทัศนา. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มไทยพวน : กรณีศึกษา ชุมชนตลาดเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ. (2558). การวิจัยเพื่อการผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สินธุ์ สโรบล และคณะ. (2547). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชน, ประชาคมวิจัย, 57(2547) กันยายน-ตุลาคม,

- 21

สิริกานต์ ทองพูน คัมภีร์ ทองพูน และคงทัต ทองพูน. (2563). อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านลานคา จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อินทิรา พงษ์นาค. (2557). อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทองเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัด สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดม เชยกีวงศ์. (2552). วิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ ตลาดน้ำ. กรุงเทพมหานคร : ภูมิปัญญาสร้างสรรค์.

Rolang Barthes. (1970). Elements of Semiology and Writing Degree Zero. Boston: Beacon Press.

Sukanasirikun. K. (2013). Development of Cultural Tourism Quality in the Northeast Region. Nakhon Ratchasima: Sunaree University of Technology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-10