การออกแบบและพัฒนาสื่อเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
สื่อ, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ พัฒนา หาความพึงพอใจ และเปรียบเทียบระดับความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังใช้สื่อเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง โดยใช้การศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา ตามแนวคิดการผลิตสื่อ Addie Model ของ Molenda ซึ่งประกอบไปด้วยการ วิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้และการประเมินผล โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มตัวอย่างในการประชุมกลุ่มย่อย ได้แก่ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผลิตสื่อ จำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลของสื่อ ได้แก่ ผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จำนวน 400 คน ผลวิจัยพบว่า การออกแบบและพัฒนาสื่อเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ จำเป็นต้องนำเสนอภายใต้เนื้อหาของการเกิดภาวะซึมเศร้า อาการภาวะซึมเศร้า การป้องกันภาวะซึมเศร้า การรักษาภาวะซึมเศร้า และการเข้ารับบริการคัดกรองภาวะซึมเศร้า รูปแบบสื่อที่ผลิตต้องเข้ากับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ ได้แก่ สติ๊กเกอร์ สื่อภาพนิ่ง และคลิปวิดีโอสั้นๆ โดยสื่อที่ผลิตขึ้นสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้สูงอายุในระดับมาก และผลของสื่อสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังได้รับชมสื่ออย่างมีนัยทางสถิติ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข.
นริศรา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3), 24-31.
ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2555). การสื่อสารกับชุมชนคนพัทลุง. การประชุมวิชาการระดับชาติ State of The Art in Global Health 2012. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เบญจวรรณ สอนอาจ. (2562). แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตนโชติ เทียนมงคล. (2560). การศึกษาลักษณะฟอนต์ที่เหมาะสมต่อประจักษภาพสำหรับผู้สูงวัยในบริบทตัวอักษรไทยบนหน้าจอแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(3), 1066-1082.
วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. (2551). การพยาบาลผู้สูงอายุ ความท้าทายกับภาวะประชากรสูงอายุ. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์
วาทินี สุขมาก. (2556). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). 8 วิธีสังเกต "ภาวะซึมเศร้า" ในผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก URL: http://resource.thaihealth.or.th/media/thaihealth/16261.
Molenda, M. (2003). In search of the elusive ADDIE model. Performance improvement. 42(5), 34–37.
Palmgreen, P., and Rayburn, J.D. (1985). An expectancy-value approach to media gratifications. In K. E. Rosengren, L. A. Wenner and P. Palmgreen (Eds.), Media Uses and Gratifications of Twitter 25 Gratifications Research: Current Perspectives. (pp.61-72). CA: Sage Publications.
ThaiPBS. (2562). รายการ Backpack Journalist: วัดซึมลึก ชนบทซึมเศร้า. สืบค้นจาก URL: https://program.thaipbs.or.th/BackpackJournalist/episodes/56231.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต