การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านแอปพลิเคชัน เจดี เซ็นทรัล
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาดออนไลน์, การตัดสินใจซื้อ, แอปพลิเคชันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน เจดี เซ็นทรัล และ 2) การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน เจดี เซ็นทรัล กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน เจดี เซ็นทรัล จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.00 อายุระหว่าง 18-31 ปี ร้อยละ 71.00 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 66.50 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.75 อาชีพนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา ร้อยละ 36.25 รายรับ/เดือน ต่ำกว่า 15,000 บาท ร้อยละ 36.50 และขนาดครอบครัว 3-4 คน ร้อยละ 54.50 2) ลักษณะทางประชากรต่างกันมีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันเจดี เซ็นทรัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ระดับการศึกษา และ 3) การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน เจดี เซ็นทรัล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก
References
กฤษณ์กรวิชญ์ จันทขันธ์สกุล. (2561). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของผู้บริโภค. สืบค้นจาก URL: http://www.northbkk.ac.th/research/themes/
downloads/abstract/1548061649_abstract.pdf.
กรรณิการ์ ชัยอำนาจ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน Shopee ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมนำเสนอผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
กัลยรัตน์ โตสุขศรี. (2552). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลตอการตัดสินใจซื้อแชมพูสระผม “แพนทีน โปร - วี” ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี และศิวกร อโนรีย์. (2559). อิทธิพลสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า Smart Phone ของกลุ่ม Gen Y ใน กรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัย” ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เจดีเซ็นทรัล. (2561). เกี่ยวกับเจดี เซ็นทรัล. สืบค้นจาก URL: https://help.jd.co.th/helpCenter/ detailInfo/96/360/361.
ชาญชัย ก้องโลก (2560). กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าในแอปพลิเคชัน INSTAGRAM ของผู้บริโภค. สืบค้นจาก URL: http://www.mmm.ru.ac.th/mmm/is/vlt132/6014993131. pdf.
ณัฐวรรณ จุลกัลป์ และคณะ. (2552). สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค. สืบค้นจาก URL: https://www.computing.psu.ac.th/profile/backend/upload/28538927 .83187.pdf.
แบรนด์อินไซต์. (2561). สำรวจ JD Central รุ่ง หรือ ร่วง หลังเปิดตัวมากว่า 3 เดือน. สืบค้นจาก URL: https://brandinside.asia/jd-central-after-3-months-launch/.
ปัทมาภรณ์ ปัญญา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันช้อปปี้ (Shopee) ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สืบค้นจาก URL: http://www.ba-abstract.ru.ac.th /AbstractPdf/2561-5-6_1565784204.pdf.
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภัทรานิษฐ์ ฉายสุวรรณคีรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าในเครือข่ายเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุพเรศ พิริยพลพงศ์. (2559). ปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โมบายแอปพลิเคชันซื้อสินค้าผ่านทางสมาร์ตโฟนและแท๊บเล็ตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก URL: http://gscm.nida.ac.th/public-action/Proceeding/2558/3-1.pdf.
รุ่งโรจน์ ศิริพรมงคล และอรนุช เลิศสุวรรณกิจ. (2554). การตลาด 2.1 ประยุกต์โซเชียลมีเดียอย่างไรให้ตรงกับงาน. กรุงเทพมหานคร: จูปิตัส
วัลภา สรรเจริญ. (2559). การตลาดออนไลน์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุดารัตน์ กันตะบุตร. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญที่สำคัญ การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส1). สืบค้นจาก URL: http://www.nso.go.th /sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีครัวเรือน/2561/ict61-สรุปผลที่สำคัญ_ Q1.pdf.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. New York: John Wiley and Sons.
Kalavathy, D. S. and Anitha, R. (2019). Impact of Facebook on Purchase Decision Process of Generation Y Consumers. Suraj Punj Journal for Multidisciplinary Research, 9 (4): 460-471.
Lucia, V. and Miroslav S. (2013). The influence of demographic factors on attitudes toward brands and brand buying behavior of Slovak consumers. International Journal of Education and Research. 11(1): 1-10.
Tantowi, J., Andriani, k. and Inggang, P. N. (2019). The impact of website quality on consumer satisfaction and purchase Intention (Study case of e-Commerce Lazada Indonesia ib Malang City). Journal Administrasi Bisnis, 67(1): 54-61.
Walid, I., Dr.Dojanah, M., and Sulaiman, A. (2016). The impact of social media as a marketing tool on purchasing decisions (Case study on Samsung for electrical home appliances). International Journal of Managerial Studies and Research (IJMSR), 4(1), 14-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต