การศึกษาประสิทธิภาพเว็บไซต์หน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่ส่งผลต่อประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์

ผู้แต่ง

  • ปิยะณัฐ พรมสาร กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเว็บไซต์และความสัมพันธ์ของปัจจัยการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์หน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเว็บไซต์หน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาร่วมกับข้อมูลจากเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์ตามสัญญาณของประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์โดย Google PageSpeed Insights วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยโดยการทดสอบไคสแควร์ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของเว็บไซต์ในมาตรฐานประสบการณ์ในการใช้งานโดยส่วนใหญ่ มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ร้อยละ 68.18) ใช้ระบบความปลอดภัยในการเชื่อมต่อโดยแสดงผลผ่าน https (ร้อยละ 56.36) และไม่มีโฆษณาคั่นในการเข้าถึงเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ (ร้อยละ 100) แต่ความเร็วในการโหลดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ในระดับด้อยประสิทธิภาพ ระยะเวลาการรอการทำงานโดยรวม และความเสถียรของการจัดวางเค้าโครงเว็บไซต์มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับควรปรับปรุง อีกทั้งยังพบว่า ปัจจัยการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านประเภทของเว็บไซต์ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานโดยเฉพาะ หรือส่วนหนึ่งของเว็บไซต์อื่น มีความสัมพันธ์กับการมุ่งเน้นด้านการโหลดข้อมูล การโต้ตอบ และความเสถียรของภาพ ด้านความเร็วในการโหลดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ระยะเวลาการรอการทำงานโดยรวม และความเสถียรของการจัดวางเค้าโครงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จรูญเกียรติ กุลสอน และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 11(33), 1-12.

ญาณิภา จันทร์บำรุง. (2555). ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของพนักงาน กรณีศึกษาของบริษัทบางกอกกล๊าส จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นวพล ศรีวัฒนทรัพย์. (2560). การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งานต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วยเทคนิคเรสพอนซิฟ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 27(3), 511-522.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). กฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561. สืบค้นจาก URL: https://www.onesqa.or.th/upload/download/202110150943124.pdf.

วิมลพรรณ อาภาเวท และจักรกฤษณ์ พางาม. (2561). แนวทางการบริหารงานตามนโยบายมหาวิทยาลัยดิจิทัลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(2), 69-81.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). ETDA เผย

ปี 62 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาที Gen Y ครองแชมป์ 5 ปีซ้อน. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2563). มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ. สืบค้นจาก URL: https://www.dga.or.th/policy-standard/standard/dga-007/dga-008/.

สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2561). หน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง. สืบค้นจาก URL: https://www.ops.go.th/th/aboutus/role-mandate

สุรชัย ทุหมัด และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). ความเครียดและผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 19(2), 151-165.

อ้อมขวัญ กฤษณะกาฬ และศรีสุนันท์ ประเสริฐสังข์. (2562). ระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 6(2), 268-285.

Bournaris, T., Manos, B., Moulogianni, C., Kiomourtzi, F. and Tandini, M. (2013). Measuring Users Satisfaction of an e-Government Portal. Procedia Technology. 8, 371-377.

Flavian, C., Gurrea, R. and Orús, C. (2009). Web Design: a Key Factor for the Website Success. Journal of Systems and Information Technology. 11(2), 168-184.

Google Developers. (2019). Total Blocking Time. Available from URL: https://web.dev/lighthouse-total-blocking-time/.

Google Developers. (2020). Lighthouse Performance Scoring. Available from URL: https://web.dev/performance-scoring/.

Google Developers. (2022). Avoid Intrusive Interstitials and Dialogs. Available from URL: https://developers.google.com/search/docs/advanced/guidelines/avoid-intrusive-interstitials

Google Search Central. (2022). Understanding Page Experience in Google Search Results. Available from URL: https://developers.google.com/search/docs/advanced/experience/ page-experience.

Kima, S. and Stoelb, k. (2004). Apparel Retailers: Website Quality Dimensions and Satisfaction. Journal of Retailing and Consumer Services. 11(2), 109-117.

Laura, L. (2022). QS World University Rankings Methodology: Using Rankings to Start your University Search. Available from URL: https://www.topuniversities.com/qs-world-university-rankings/methodology.

Liu, C., Arnett, K. and Litecky, C. (2000). Design Quality of Websites for Electronic Commerce: Fortune 1000 Webmasters’ Evaluations. Electronic Markets. 10(2), 120-129.

Manasra, E., Zaid, S. and Taherqutaishat, F. (2013). Investigating the Impact of Website Quality on Consumers’ Satisfaction in Jordanian Telecommunication Sector. Arab Economic and Business Journal. 8(1-2), 31-37

Manu, J. and Ramesh, R. (2016). High Performance Work Systems - Implications for Perceived Organizational Support of Employees in Information Technologies Sector. International Journal for Science, Technology and Management. 5, 603-9.

Ramakrishnan, R. and Kaur, A. (2020). An Empirical Comparison of Predictive Models for Webpage Performance. Information and Software Technology. 123, 1-16.

Sørum, H. (2011). An Empirical Investigation of User Involvement, Website Quality and Perceived User Satisfaction in eGovernment Environments. In Proceedings of the Second international Conference on Electronic Government and the Information Systems Perspective. Toulouse France: Springer-Verlag, (122–134).

Sørum, H. and Clemmensen, T. (2011). How do Webmasters Explain Website Quality? Available from URL: https://aisel.aisnet.org/mcis2010/83.

StatCounter (2022). Browser Market Share Thailand. Available from URL: https://gs.statcounter.com/browser-market-share/all/thailand.

Times Higher Education. (2021). World University Rankings 2022: methodology. Available from URL: https://www.timeshighereducation.com/w%C3%B4rld-university-rankings/world-university-rankings-2022-methodology.

Walton. P. and Mihajlija. M. (2019). Cumulative Layout Shift (CLS). Available from URL: https://web.dev/cls/.

Walton. P. and Pollard. P. (2020). Optimize Largest Contentful Paint. Available from URL: https://web.dev/optimize-lcp/.

World Wide Web Consortium. (2022). Standards. Available from URL: https://www.w3.org/standards/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-18