การพัฒนาสื่อดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมฐานการเรียนรู้ อุทยานธรรมชาติวิทยา อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
สื่อดิจิทัล, เทคโนโลยีความจริงเสริม, ฐานการเรียนรู้, อุทยานธรรมชาติวิทยาบทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมฐานการเรียนรู้อุทยานธรรมชาติวิทยา อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 2) ประเมินคุณภาพของสื่อดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่สนใจศึกษาพันธุกรรมพืชในอุทยานธรรมชาติวิทยา อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 50 คน จากการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมฐานการเรียนรู้อุทยานธรรมชาติวิทยาฯ แบบประเมินคุณภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีความจริงเสริมฐานการเรียนรู้อุทยานธรรมชาติวิทยาฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ฐาน ได้แก่ ห้องนิทรรศการ สวนสมุนไพร ลานให้ความรู้หินแร่ การพัฒนาที่ดินเพื่อปลูกผักพื้นเมือง และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2) คุณภาพสื่อดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมฐานการเรียนรู้อุทยานธรรมชาติวิทยาฯ คุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (= 4.81, S.D.=0.39) และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อดิจิทัลฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.47, S.D.=0.50)
References
กรกช ขันธบุญ และจิรวัฒน์ พิระสันต์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนโดยใช้เทคโนโลยีภาพเสมือนจริงสำหรับการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. วารสารวิชาการ ศิลปะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 10(2), 188-200.
เมตตา คงคากูล และบุรินทร์ นรินทร์. (2561). การพัฒนาศูนย์รวมแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในเขตจังหวัดราชบุรี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 “การเกษตรก้าวไกล สังคมไทยยั่งยืน” ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย (น.1510-1520). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
รุ่งศักดิ์ เยื่อใย. (2562). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม : ความท้าทายต่อการพัฒนาการเรียนการสอนของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21. Journal Humanities. 25(2), 127-140.
วราลักษณ์ มาประสม และคณะ. (2564). ผลการใช้สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีความจริงเสริมสร้างแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวแหล่งอารยธรรมขอมในสี่จังหวัดอีสานใต้ : นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 16(2), 161-170.
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2544). เป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้นจาก URL: http://www.rspg.or.th/information/information_3.htm.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2562). โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. สืบค้นจาก URL: http://www.shorturl.at/gtwDM
Boonruam, S. & Phonak, D. (2015). Using augmented reality as media learning through cloud computing. NRRU Community Research Journal. 9(2), 38-44.
Kulpornphan, T. (2015). Location-based online tourism information system with 360-degree video: A case of Wat Sri Chum Historic Site, Sukhothai. Master of Architecture. Thammasat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต