ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ เทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และความใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ดารารัตน์ วงศ์เรืองศักดิ์ สาขาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ (วิทยาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เกศินี ครุณาสวัสดิ์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา, เทคโนโลยีความจริงเสริม, ห้องเรียนกลับด้าน, การคิดวิเคราะห์, ความใฝ่เรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม และศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จำนวน 1 ห้องเรียน คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบทดสอบวัดความใฝ่เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดบทบาทครูและบทบาทนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ขั้นตอนที่ 3 กำหนดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม และขั้นตอนที่ 4 การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม และ 2) ประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม พบว่า นักเรียนมีคะแนนการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีคะแนนความใฝ่เรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

จาตุรนต์ มหากนก. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 24-45.

ชนิสรา เมธภัทรหิรัญ. (2560). “ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กับการสอนคณิตศาสตร์”. นิตยสาร สสวท. 46(209), 20-22.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5(3), 7-20.

ณัฐพล รำไพ. (2561). นวัตกรรมฉบับนักเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์.

ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 30(3), 16-29.

ดุสิตา แดงประเสริฐ. (2549). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการเขียนสรุปความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นันทิกา หนูสม และวิโรจน์ สุทธิสีมา. (2561). ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์. 37(1), 37-45.

นิพนธ์ บริเวธานันท์. (2552). Augmented Reality เมื่อโลกความจริงผนวกเข้ากับโลกเสมือน. สืบค้นจาก URL: http://www.ebooks.in.th/30348/ Augmented_Reality/.

นิรมล ศตวุฒิ. (2548). การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development). กรุงเทพมหานคร: มหาวิยาลัยรามคำแหง.

ประณาท เทียนศรี. (2556). การสอนสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาการคิด ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันทิพา หนูซื่อตรง. (2561). ผลการเรียนด้วยหนังสือเรียนร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มูลนิธิคณะเชนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย BSG. (2555). มาตรฐานการศึกษามูลนิธิคณะเชนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 พุทธศักราช 2555 สืบค้นจาก URL: http://www.act.ac.th/document/BSG-55.pdf.

เมธา อึ่งทอง, ผดุงชัย ภู่พัฒน์ และชิตพล มังคลากุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(ฉบับพิเศษ), 82-92.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

___________. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). วิธีสอนทั่วไป. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). รายงานประจำปี 2562. สืบค้นจาก URL: https://www.niets.or.th/th/catalog/view/431.

สมนึก กำลังเดช (2553). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟิค.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก URL: http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf.

เสาวลักษณ์ พันธบุตร. (2560). อยู่อย่างคนร่วมสมัยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 161-167.

Bergmann, J. and Sams, A. (2012). Flip your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. Washington DC: International Society for Technology in Education.

Bokosmaty, R., Bridgeman, A., and Muir, M. (2019). Using a Partially Flipped Learning Model to Teach First Year Undergraduate Chemistry. Journal of Chemical Education. 96(4), 629-639.

Lee, O. and Buxton, A. (2013). Teacher Professional Development to Improve Science and Literacy Achievement of English Language Learners. Theory Into Practice. 52, 110-117.

Milson, A. J., and Robert, J. A. (2008). The Internet and Inquiry Learning: Integrating Medium and Method in a Sixth Grade Social Studies Classroom. Theory and Research in Social Education. 30(2), 39-58.

Morris, P. (2013). Reconstructing Project Management Reprised: A Knowledge Perspective. Project Management Journal. 44(5), 6-23.

Wiggins, G. and Tighe, J. (2011). The Understanding by Design Guide to Creating High-quality Units. NY: ASCD.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-18