การผลิตสื่อโมชันกราฟิก เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความสามารถในการคิดรวบยอดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • จิรนันท์ ตันตระกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

โมชันกราฟิก , ความสามารถในการคิดรวบยอด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ค่าดัชนีประสิทธิผล, ประสิทธิภาพการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การผลิตสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ประเมินคุณภาพของสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาความสามารถในการคิดรวบยอดทางการเรียนที่ใช้สื่อการสอนโมชันกราฟิก 5) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการใช้สื่อโมชันกราฟิก และ 6) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการสอนโมชันกราฟิก เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน งานวิจัยนี้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยการสุ่มเลือกห้อง จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) สื่อโมชันกราฟิก 3) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและสื่อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ความถี่ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) การผลิตสื่อโมชันกราฟิก เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้สื่อที่เป็นภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ 2) ด้านเนื้อหามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}=4.68, S.D.=0.23) ด้านเทคโนโลยีมีคุณภาพอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=4.23, S.D.=0.68) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.65/83.45 ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการสอนโมชันกราฟิก เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีคะแนนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการคิดรวบยอดทางการเรียนโดยใช้สื่อการสอนโมชันกราฟิก เรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64 อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 5) ดัชนีประสิทธิผลของการใช้สื่อโมชันกราฟิกเรื่อง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน นักเรียนมีความรู้หลังจากเรียนด้วยสื่อโมชันกราฟิกเพิ่มขึ้น 0.77 หรือคิดเป็นร้อยละ 77 และ 6) ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อสื่อการสอนโมชันกราฟิก อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.55, S.D.=0.56)

References

ก่อเกียรติ ขวัญสกุล. (2561). การพัฒนาสื่อประสมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์กับวิดีโอโมชัน กราฟิกเรื่องพัฒนาการและระบบการพิมพ์ สำหรับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและ คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 4(2), 59-76.

จินดารัตน์ เพชรล้ำ. (2562). การพัฒนาความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการใช้เทคนิคผังกราฟิกในรายวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จงรัก เทศนา. (2560). ทฤษฎีโมชันกราฟิก. สืบค้นจาก URL: http://www.researchsystem.siam.edu/images/IT_Department/Narongrit/ 3_2559/MotionGraphics_Cyber_security_threats/07_ch2.pdf.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5(1), 7-19.

นภัสวันต์ ปิ่นแก้ว และวัตสาตรี ดิถียนต์. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ระหว่างสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งและสื่ออินโฟกราฟิกแบบภาพเคลื่อนไหวเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสุทธิปริทัศน์. 34(109), 33-45.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปิยพงษ์ ราศรี. (2559). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกวิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 8(2), 284-290.

วรรณนิภา ธรรมโชติ. (2562). 3P: Basic Building Block กับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้กระบวนการพยาบาลอย่างยั่งยืน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณะสุข. 29(3), 3-6.

วิรตี วงษ์อนุสาสน์. (2561). เปลี่ยนการสื่อสารของคุณให้ง่ายกว่าด้วย Infographic. สืบค้นจาก URL: http://www.muit.mahidol.ac.th/muit_training/Piktochart2018/Infographic-ok.pdf.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Muhammad Hanif. 2020. The Development and Effectiveness of Motion Graphic Animation Videos to Improve Primary School Students' Sciences Learning Outcomes. European Journal of Educational Research. 13(3), 247-266.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28