กลยุทธ์การโฆษณาพนันออนไลน์และอิทธิพลที่มีผลต่อความสนใจเล่นพนันออนไลน์ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ณัฐวิภา สินสุวรรณ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศิรภัสสร หมั่นดี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณภรณ์ เกษมสุข คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุพิชชา ศรีกุล คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การโฆษณา, กลยุทธ์การโฆษณา, การพนัน, สื่อออนไลน์, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การโฆษณาพนันออนไลน์ในเว็บไซต์และติ๊กต็อก และ 2) อิทธิพลของกลยุทธ์การโฆษณาพนันออนไลน์ที่มีผลต่อความสนใจเล่นพนันออนไลน์ของวัยรุ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ การศึกษากลยุทธ์การโฆษณาใช้การวิเคราะห์สื่อออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ จำนวน 3 เว็บไซต์ และติ๊กต็อก จำนวน 3 บัญชี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ การศึกษาอิทธิพลใช้การสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากวัยรุ่น จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การโฆษณาพนันออนไลน์ ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์การโฆษณา ได้แก่ การใช้ภาษาชวนเชื่อ การส่งเสริมการขาย ภาพผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด เพลงบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการพนัน และจุดจูงใจทางเพศ (2) กลยุทธ์การใช้สื่อ ได้แก่ สื่อคลิปวิดีโอเคลื่อนไหวและภาพเคลื่อนไหว ผลการสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.50) เป็นนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 76.25) ระดับการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 82.00) มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 32.75) เคยเห็นโฆษณาพนันออนไลน์มากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 38.00) ส่วนมากเห็นจากเว็บไซต์ (ร้อยละ 73.80) ในลักษณะเพลง/วิดีโอโฆษณา (ร้อยละ 77.80) ในภาพรวม พบว่า กลยุทธ์การโฆษณามีผลต่อความสนใจเล่นพนันของวัยรุ่นในระดับปานกลาง โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ เพลงบอกรายละเอียดของเว็บพนัน (M = 2.84, SD = 1.44) การส่งเสริมการขาย (M = 2.71, SD = 1.47) และสื่อคลิปวิดีโอและภาพเคลื่อนไหว (M = 2.70, SD = 1.46) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์การโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลต่อความสนใจเล่นพนันออนไลน์ของวัยรุ่น ทั้งยังสะท้อนแนวคิดเรื่องผลกระทบที่เกิดจากบุคคลที่สาม (Third-Person Effect) ซึ่งเป็นประเด็นที่จะอภิปรายต่อไป

References

กชกร พลอยทรัพย์. (2560). การเปลี่ยนแปลงของการใช้จุดดึงดูดทางเพศ (Sex Appeal) ในการสร้างสรรค์งานโฆษณาตั้งแต่ยุค 1980-ปัจจุบัน. สารนิพนธ์วารสารศาสตรบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กฤษดาวัลย์ ช่วยกำลัง. (2564). ความผูกพันทางสังคมกับการเล่นพนันออนไลน์ของนักเรียนกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม. 3(1), 12-23.

ชุติมา มีสกุล. (2557). ความคาดหวังในสินค้าและกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นและเครื่องประดับผ่านอินเทอร์เน็ตของประชากรในเขตอำเภอเมืองและอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นาซียะฮ์ มะหมัด สุภาพร ดิสวัสดิ์, และโกมลมณี เกตตะพันธ์. (2565). การโฆษณาผ่านสื่อประเภทวิดีโอที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บวรลักษณ์ พูลสวัสดิ์. (2561). กลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปภาวิน ศรีรัตน์. (2559). การศึกษาดนตรีและเสียงประกอบสปอตโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงที่มีอิทธิพลต่อผู้ฟัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รพีพงค์ ยังวราสวัสดิ์. (2561). การเงินบำบัดเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ป่วยโรคติดการพนัน. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 4(1-2), 43-53.

วัลลภา จิระติกาล. (2550). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในโฆษณาเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายในนิตยสารผู้ชาย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยากร เชียงกูล. (2564). การพนันออนไลน์ในไทย. สืบค้นจาก URL: https://www.bangkokbiznews.com/ lifestyle/938740.

วิษชญะ ศิลาน้อย และเจษฎา ศาลาทอง. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการชักจูงผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ของเว็บไซต์การพนันฟุตบอล. วารสารนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 36(3), 1-14.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. (2561). รายงานสถานการณ์การพนันในสังคมไทย ปี 2560. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. (2564). รายงานศูนย์ศึกษาปัญหาการพนันปี 2565. กรุงเทพมหานคร: เดือนตุลา.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติประชากรศาสตร์ประชากรและเคหะ. สืบค้นจาก URL: http://www.nso.go.th.

Droidsans. (2566). คนไทยเข้าเว็บอะไรมากที่สุด เช็คสถิติการใช้สื่อดิจิทัล อินเทอร์เน็ตของคนไทยปี 2023. สืบค้นจาก URL: https://droidsans.com/the-state-of-digita-in-thailand-in-2023/.

Canale, N., Vieno, A. & Griffiths, M. (2016). The Extent and Distribution of Gambling-Related Harms and the Prevention Paradox in a British Population Survey. Journal of Behavioral Addiction. 5(2), 204–212.

Davison W. P. (1983). The Third-Person Effect in Communication. Public Opinion Quarterly. 47(1), 1-15.

Ekici, N., Erdogan, B. Z. & Basil, M. (2020). The Third-Person Perception of Sex Appeals in Hedonic and Utilitarian Product Ads. Journal of International Consumer Marketing, 32(4), 336-351.

Gainsbury, S., et al. (2014). The Prevalence and Determinants of Problem Gambling in Australia: Assessing the Impact of Interactive Gambling and New Technologies. Psychology of Addictive Behaviors. 28(3), 769-779.

Gainsbury, S., et al. (2012). A Digital Revolution: Comparison of Demographic Profiles, Attitudes and Gambling Behavior of Internet and Non-Internet Gamblers. Computers in Human Behavior. 28(4), 1388–1398.

Griffiths, M. D. (1996). Pathological Gambling: A Review of the Literature. Journal of Psychiatric and Mental Health Nursing. 3(6), 347-353.

Guerrero-Solé, F., Lopez-Gonzalez, H., & Griffiths, M. D. (2017). Online Gambling Advertising and the Third-Person Effect: A Pilot Study. International Journal of Cyber Behavior, Psychology and Learning. 7(2), 15–30.

Huh, J., Delorme, D. E., & Reid, L. N. (2006). Perceived Third-Person Effects and Consumer Attitudes on Prevetting and Banning DTC Advertising. Journal of Consumer Affairs. 40(1), 90–116.

Jensen, K., & Collins, S. (2008). The Third-Person Effect in Controversial Product Advertising. American Behavioral Scientist. 52(2), 225–242.

Nyemcsok, C., et al. (2018). Young People's Recall and Perceptions of Gambling Advertising and Intentions to Gamble on Sport. Journal of Behavioral Addictions. 7(4), 1068-1078.

Pitt, H., et al. (2018). Do Betting Advertisements Contain Attention Strategies That May Appeal to Children? An Interpretative Content Analysis. Health Promotion Journal of Australia. 29(3), 265-273.

Syvertsen, A., et al. (2022). Relationships Between Exposure to Different Gambling Advertising Types, Advertising Impact and Problem Gambling. Journal of Gambling Studies. 38(2), 465-482.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28