การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษา ประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
-
คำสำคัญ:
การประชาสัมพันธ์, ดิจิทัลคอนเทนต์, อัลบั้มโพสต์, ทุนการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) ประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และ 3) ประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกกษาประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแจงร้อนวิทยา ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ดำเนินการโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เคยชมดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาประเภท Active Recruitment สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 40 คน ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี (=3.95, S.D.=1.12) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดี (=4.21, S.D.=0.59) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (=4.37, S.D.=0.71) และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (=4.15, S.D.=0.74) ดังนั้น สื่อที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ
References
จริยา เกิดไกรแก้ว, จุฬารัตน์ ดวงจันทร์, อาลาตี แมเลาะ, และโนร์ฟาตีฮะห์ เจ๊ะอูมา. (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(1), 64-74.
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ 8(2), 57-69.
นิรุต จิตติมงคล. (2562). การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์แบบมีปฏิสัมพันธ์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563, 22 กันยายน). ประเภทของ Digital Content ที่ควรมี. Popticles.com. https://www.popticles.com/marketing/types-of-content-we-should-have/
ภานุวัฒน์ มานพ. (2561, 10 พฤษภาคม). เรื่องทุนการศึกษาที่เด็กทุนต้องรู้. True ปลูกปัญญา. https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/66939
ภาวิณี บินรามัน, พรปภัสสร ปริญชาญกล, และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2565). การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอินโฟกราฟิกบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าประเภทโฮมเมดเบเกอรี่. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 2(2), 68-77.
เมธาวี แก้วสนิท. (2559). นักประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ คิดสร้างสรรค์ได้ ใช้เทคโนโลยีเป็น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(2), 34-41.
โรงเรียนแจงร้อนวิทยา. (2566). จำนวนประชากรนักเรียน. https://sites.google.com/chaengron.ac.th/
วรภพ แพบุญประเสริฐ. (2018, 20 กันยายน). Facebook Photo Album โพสต์ภาพอัลบั้มอย่างไรให้น่าสนใจ. Grappik. https://grappik.com/facebook-photo-album
วรัช ตันติวงศ์, เพียงเพ็ญ จิรชัย, และโสพล มีเจริญ. (2566). การสร้างสื่อบทเรียนดิจิทัลร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการสร้างผลงานสื่ออินโฟกราฟิก. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 3(1), 68-82.
สำนักงานคัดเลือกและสรรหานักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2562). ทุนการศึกษาเพื่อคัดเลือกนักศึกษาเชิงรุก (ก่อนเข้าศึกษา). https://admission.kmutt.ac.th/affordchaengron wittayaschool/หน้าแรก
Krupee. (2552, 23 กันยายน). เกณฑ์การแปลผลที่เหมาะสมที่สุดของ Rating Scale. https://krupee.blogspot.com/2009/09/rating-scale.html
People Value. (2567, 28 มิถุนายน). การออกแบบด้วย ADDIE Model. https://www.peoplevalue.co.th/content/9120/การออกแบบด้วย-addie-model.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต