การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยโมชันกราฟิก เรื่อง เส้นทางสายมูพระธาตุประจำวันเกิดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย สหพงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สื่อประชาสัมพันธ์, โมชันกราฟิก, นครพนม

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท วิเคราะห์แนวทางของการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม 2) พัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยโมชันกราฟิกเรื่อง เส้นทางสายมูพระธาตุประจำวันเกิดนครพนม 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของสื่อ 4) เพื่อเผยแพร่และศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อสื่อ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสม จำนวน 5 ท่าน ประชาชนทั่วไปในการประเมินความพึงพอใจ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) โมชันกราฟิกเรื่อง เส้นทางสายมูพระธาตุประจำวันเกิดนครพนม 2) แบบประเมินความเหมาะสม 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาบริบท วิเคราะห์แนวทางของการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม พบว่า โมชันกราฟิกเป็นสื่อที่มีความเหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ผลการพัฒนาสื่อ ได้สื่อโมชันกราฟิกที่มีความยาว 7.37 นาที โดยจะมีการนำเสนอเนื้อหาด้านเส้นทางการท่องเที่ยวพระธาตุประจำวันเกิดในจังหวัดนครพนม พร้อมโมเดล 3 มิติของตัวองค์พระธาตุทั้ง 8 แห่ง 3) ผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (equation=4.52, S.D.=0.54) และ 4) ความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมายที่มีสื่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (equation=4.52, S.D.=0.64)

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม. (2548). คู่มือไหว้พระธาตุวันเกิดจังหวัดนครพนม. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม.

จงรัก เทศนา. (2560). ทฤษฎีโมชันกราฟิก. มหาวิทยาลัยสยาม. http://www.researchsystem.siam.edu/images/IT_Department/Narongrit/3_2559/Motion_Graphics_Cyber_security_threats/07_ch2.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

ปัฐวิกรณ์ มาขุมเหล็ก. (2562). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกเรื่อง ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ราตรี เอี่ยมประดิษฐ์, กาญจนา ส่งสวัสดิ์, และกนกพร ยิ้มนิล. (2665). การพัฒนาโมชันกราฟิกส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี.

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์. (2562, 29 มกราคม). เที่ยวไทยทะลุ 41 ล้าน ประเมินปี 62 ต่างชาติทะลักเพิ่มทุกตลาด. Post Today. https://www.posttoday.com/business/578456

สุธาทิพย์ หอมสุวรรณ. (2563). การออกแบบกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic Design). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สุทธิพงษ์ คล่องดี และนลินี ชนะมูล. (2564). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนขนมแปลกริมคลองหนองบัว จังหวัดจันทบุรี. วารสารการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 7(2), 75-83.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2551). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. คลังนานาวิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29