การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม วิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
สื่อการเรียนรู้, เทคโนโลยีความจริงเสริม, ตัวพินอิน, วิชาภาษาจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม วิชาภาษาจีน สำหรับประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณภาพในระดับดี และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และ 2) นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ห้อง 7 จำนวน 42 คน (ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มของประชากรด้วยวิธีการจับสลากจากนักเรียนจำนวน 9 ห้อง) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน สำหรับประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อ 3) แบบทดสอบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาจีน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-Test ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพด้านเทคนิคและวิธีการอยู่ในระดับดีมาก มีคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก และสื่อมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/94.12 2) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงวิชาภาษาจีน เท่ากับ 0.73 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมวิชาภาษาจีน สำหรับประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563, 8 กุมภาพันธ์). โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส-19. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.
ณัฐพล รำไพ. (2561). นวัตกรรม ฉบับนักเทคโนโลยีการศึกษา. วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์.
ณัฐพล รอทอง และวัชรินทร์ โพธิ์เงิน. (2559). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการสอนเรื่องหุ่นยนต์เดลต้า โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-Based Learning ร่วมกับเทคโนโลยีความเสมือนจริง (Augmented Reality). การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาต อนุกูลเวช. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยบูรพา.
นพรัตน์ ย้อยพระจันทร์. (2560). การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2560). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(2), 7-16
พิมพร วัฒนากมลกุล และปรมินทร์ ประภาการ. (2562). การศึกษากลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาจีนของนักศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
พิษณุ จงเจริญ. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556). พลิกบทบาท 3D สู่โลกความจริงเสมือน (Augmented Reality) [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนัสนันท์ บุญปาลวงศ์. (2564). การพัฒนาระบบสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอักษร A-Z. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 7(3), 108-120.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 119-127.
สุภาวดี บินดิโตวา. (2564). การพัฒนาบทเรียนดิจิทัล เรื่องการแก้ปัญหาโดยประยุต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุบิน ไชยยะ. (2560). ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงาน กศน. จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 159-169.
เสาวลักษณ์ แจงบำรุง. (2564). การพัฒนาสื่อบัตรร่วมกับเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่องวัสดุรอบตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อดิศักดิ์ เมฆสมุทร, สุรพล บุญลือ, และกีรติ ตันเสถียร. (2560). การพัฒนาความสามารถการอ่านคำควบกล้ำ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับเทคโนโลยีผสานความจริง ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อเนก พุทธิเดช, กานต์พิชชา แตงอ่อน, และวาฤทธิ์ กันแก้ว. (2561). การพัฒนาบทเรียนเรื่องการประยุกต์ปริพันธ์จำกัดเขต โดยประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ตโฟน (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
Seel, B, & Glasgow, Z. (1990). Exercise in Instructional Design. Merrill Publishing Company Bell & Howell Information Company.
Liyun, S. (2016). Development of Basic Chinese Instructional Activities Package Using Cooperative Learning Approach for Mathayomsuksa 2 Students at Satit Phiboonbumpen School [Unpudlished master’s thesis]. Burapha University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต