การรับรู้คุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลกระทบต่อการตั้งใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จตราปูนอินทรีของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
คุณค่าตราสินค้า, ส่วนประสมทางการตลาด, การตั้งใจซื้อ, คอนกรีตผสมเสร็จบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าตราสินค้า 2) เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด 3) เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้อสินค้าคอนกรีตผสมเสร็จตราปูนอินทรี 4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการตั้งใจซื้อสินค้าคอนกรีตผสมเสร็จตราปูนอินทรีจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และ 5) เพื่อศึกษาผลกระทบของการรับรู้คุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตั้งใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จตราปูนอินทรีของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างในจังหวัดชัยภูมิที่เคยใช้คอนกรีตผสมเสร็จตราปูนอินทรี จำนวน 396 ตัวอย่างแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างมีระดับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าและให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาด รวมถึงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จตราปูนอินทรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับการเปรียบเทียบการตั้งใจซื้อคอนกรีตผสมเสร็จตราปูนอินทรี โดยจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ประกอบการที่มีรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจต่างกันจะมีการตั้งใจซื้อแตกต่างกัน และยังพบว่าปัจจัยการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ด้านการรู้จักตราสินค้า ด้านความเชื่อมโยงตราสินค้า ด้านการรับรู้คุณภาพและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านกระบวนการ มีผลกระทบเชิงบวกต่อการตั้งใจซื้อคอนกรีต แต่ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคามีผลกระทบเชิงลบต่อการตั้งใจซื้อ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มการรับรู้คุณค่าตราสินค้าให้สูงขึ้นได้
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤษณา วิสมิตะนันทน์, ณัฐพล อัสสะรัตน์ และ พศกร ผ่องเนตรพานิช. (มกราคม-มีนาคม 2559). การจำแนกกลุ่มลูกค้าการฟังเพลงออนไลน์แบบสตรีมมิ่งในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุกิจปริทัศน์, 38(147), 138-161.
ฉันท์ชนก เรืองภักดี. (2557). คุณค่าตราสินค้า คุณภาพการบริการ และความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ Power Bank ของผู้บริโภคที่ใช้ Smartphone และ Tablet ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
เฉลิมวัชช์ คงศรีศักดิ์. (2553). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จของผู้รับเหมาก่อสร้างในอำเภอเมือง จังหวัดน่าน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
ชลวิทย์ วรรณโชติผาเวช. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการซื้อคอนกรีตผสมเสร็จ. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ณัฐชยา ใจจูน. (2557). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ทวีพร พนานิรามัย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ A ของผู้บริโภคในเขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ (2552). เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
ธนบดี วายุวันศิริ และ ทรงพร หาญสันติ. (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561). ปัจจัยทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อสินค้าในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ดูโฮมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมลฑล. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 6(12), 105-114.
ธนาคารกรุงศรีฯ. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2562-2564. สืบค้นจาก https://is.gd/U77tGf
ธมนพัชร์ ดีแสน. (2561). แผนธุรกิจการพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าต่อการเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
นัทธมน หมทอง (2555). คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์มือถือไอโฟนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน). (2562). วิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมองค์กร. สืบค้นจาก https://www.siamcitycement.com/th/who_we_are/vision
ปัทมพร จิระบุญมา และ สิริภักตร์ ศิริโท. (เมษายน-มิถุนายน 2556). คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์“ฮอนด้า” ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการตลาด และการสื่อสาร, 1(2), 282-296.
พันธุ์ทิพย์ ดีประเสริฐดำรง. (2559). ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าร้าน LOFT ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
แพรวไพลิน พาทีทิน. (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ เครื่องสังฆภัณฑ์ของผู้บริโภคในจังหวัดตราด. วารสารบริหารธุรกิจ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(2), 84-95.
ภารดี ผิวขาว. (2558). คุณค่าตราสินค้า ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้า และความเกี่ยวพันในเรื่องแฟชั่นที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นตราสินค้าเกรฮาวด์ของผู้บริโภคภายในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
มธุสร จรดล. (2559). การศึกษาสาเหตุที่มีผลต่อยอดขายคอนกรีตลดลง กรณีศึกษา บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
รุ่งนภา บริพนธ์มงคล และ กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (มกราคม-เมษายน 2563). การรับรู้คุณภาพสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 166-179.
ฤดีรัตน์ สิทธิบริบูรณ์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าของร้านอาหารวอเตอร์ไซด์ รีสอร์ท. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย. (2562). อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์. สืบค้นจาก http://thaicma.or.th/cms/publications-th/publications-th1/
เสาวลักษณ์ ชาญเชี่ยว. (2553). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). กลยุทธ์การตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาทิตยา ดาวประทีป. (2559). การรับรู้ตราสินค้าและผู้มีอิทธิพลต่อตราสินค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
อิสริย ตรีประเสริฐ. (2557). ปัจจัยคุณค่าตราสินค้า พฤติกรรมการแบ่งปันความรู้และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York: Free Press.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.
Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing (14th ed.). Boston: McGraw - Hill.
Kotler, P. (2003). Marketing Management (7th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Kwon, K. N., & Schumann, W. D. (2001). The influence of consumers' price expectations on value perception and purchase intention. Advances in Consumer Research Volume, 28(1), 316-322.
Priem, R. L. & Butler, J. E. (2001). Is the resource-based “view” a useful perspective for strategic management research? The Academy of Management Review, 26(1), 22-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว