ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยม ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 , การปรับตัว , เรียนออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีพฤติกรรมการปรับตัวเพื่อการเรียนออนไลน์ เพื่อศึกษาอิทธิพลพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ต่อการปรับตัวของนักเรียนภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เพื่อศึกษาอิทธิพลของความวิตกกังวลกับการเรียนออนไลน์ต่อการปรับตัวของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยม ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) และได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าการถดถอยพหุคุณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า เพศและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากที่พักแตกต่างกัน ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวการเรียนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ไม่แตกต่างกัน,ระดับชั้นเรียนและการมีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวการเรียนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกัน พฤติกรรมการเรียนออนไลน์ด้านกระบวนการสร้างและใช้ความรู้มีอิทธิพลต่อการปรับตัวการเรียนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 มากที่สุด และความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ด้านบรรยากาศการเรียนออนไลน์มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของนักเรียนภายใต้สถานการณ์โควิด-19 มากที่สุด
References
กนกพร กังวาลสงค์. (2564). ทิศทางการปรับตัวของการศึกษาในยุค New Normal. สืบค้นจาก https://www.ets.kmutt.ac.th/post/new-normal-in-thai-education
กรรณิการ์ แสนสุภา และคณะ. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 79-92.
ณัฐปคัลภ์ แซ่เอี้ย. (2564). พฤติกรรมการตั้งใจเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. (การวิจัยรายบุคคลปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, นครปฐม.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). 7 กลุยทธ์ที่ช่วยสร้างชั้นเรียนที่มีคุณภาพ. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/73708/-teaarttea-teaart-teamet
นันทิชา บุญละเอียด. (2554). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (ปัญหาพิเศษปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ และ คณะ. (2564). พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาพยาบาลต่อการเรียนแบบออนไลน์ ช่วงสถานการณ์โควิด-19. วารสารการพยาบาลและการศึกษากองส่งเสริมวิชาการและคุณภาพการศึกษาสถาบันพระบรมราชชนก, 14(1), 33-47.
เมธาวี จำเนียร และ กรกฎ จำเนียร. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของนักเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 188-95.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล และคณะ. (2564). การประเมินการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ โดยใช้การประเมินแบบเร่งด่วน. ศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(2), 30-45.
วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 285-298.
วิทัศน์ ฝักเจริญผล และคณะ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 44-61.
สุขนิษฐ์ สังขสูตร และ จอมเดช ตรีเมฆ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยรังสิต. ใน เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2564 (น. 1-12). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
Borkovec, T.D., Ray, W. J. & Stöber, J. (1998). Worry: A cognitive phenomenon intimately linked to affective, physiological, and interpersonal behavioral processes. Cognitive Therapy and Research, 22(6), 561-576.
Moawad, R. A. (2020). Online learning during the COVID-19 pandemic and academic stress in university students. Revista Romaneasca Pentru Educatie Multidimensionala, 12(1), 100-107.
Rogers, C. R. (1967). Client-centered therapy. Boston: Houghton-Mifflin.
Spielberger, C. D., Gorsuch, R. L. and Lushene, R. E. (1970). Manual for the State-Trait Anxiety Inventory (Self Evaluation Questionnaire). Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.
World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers. Retrieved from https://www.who.int/thailand/emergencies/novelcoronavirus-2019/q-a-on-covid-19
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Edition). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ประเสริฐ เกิดมงคล, พิเชษฐ อุดมสมัคร, จันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว