แนวทางการสร้างความพร้อมการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ของศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน

ผู้แต่ง

  • เฟื่องลดา กลิ่นถือศีล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

แนวทางการสร้างความพร้อม , การประเมินผลการปฏิบัติงาน, การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจ และปัจจัยที่สนับสนุนความพร้อมด้านการดำเนินการของพนักงานต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 2) ศึกษาความพร้อมในการบริหารระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน 3) ศึกษาแนวทางการสร้างความพร้อมการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหาร จำนวน 14 ราย และใช้แบบสอบถามกับผู้บริหารและพนักงานของศูนย์ฝึกการบิน จำนวน 81 ราย

ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมีระดับการรับรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.58, SD = .63) และมีความรู้ ความเข้าใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.62, SD = .66) และองค์การมีปัจจัยที่สนับสนุนความพร้อมด้านการดำเนินการระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.32, SD = .68) 2) ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจและพร้อมต่อการบริหารระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ทั้งนี้มีประเด็นสำหรับการพัฒนาในประเด็นด้านความรู้ความเข้าใจของพนักงาน และประเด็นด้านการประชาสัมพันธ์ เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ที่ขาดความต่อเนื่อง 3) องค์การควรเตรียมการอบรมเพิ่มความรู้ ความเข้าใจด้านตัวชี้วัด วิธีการกำหนดตัวชี้วัด เกณฑ์การประเมิน และแบบฟอร์มการประเมินให้แก่พนักงานทุกระดับ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการสร้างปัจจัยเพื่อให้พนักงานพร้อมต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานต่อไป

References

กล้าหาญ ณ น่าน. (2559). การจัดการผลการปฏิบัติงาน = Performance management. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กัลยาณี เสนาสุ. (2561). คู่มือการบริหารผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชนาธิป อ่อนหวาน. (2553). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ: คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การสรรหา การคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์. (2555). KPI และ action plan จัดทำ KPI และแปลงสู่แผนปฏิบัติการ (action plan) ให้ไม่พลาดเป้า. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊ค.

ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

นลินี ณ นคร. (2561). หลักการวัดและประเมินการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2548). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.

ประยูร สีสด. (2559). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการศาลยุติธรรมในจังหวัดนครปฐม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.

ประสพชัย พสุนนท์. (2560). สถิติสำหรับการวิจัย : การวิเคราะห์ด้วย SPSS พร้อมตัวอย่าง = Statistics for research : analysis by SPSS with example. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผุสดี รุมาคม. (2551). การประเมินการปฏิบัติงาน = Performance appraisal (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน = Knowledge managment for sustainable development. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนตรี งามมี. (2557). การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนที่มีต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานมหาวิทยาลัยศิลปากร (นครปฐม) วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

วรภัทร์ ภู่เจริญ, จีระพงศ์ พรกุล และธนกฤต จรัสรุ่งชวลิต. (2550). KPI...ทำให้ง่าย ๆ = KPI...make it easy. กรุงเทพฯ: อริยชน.

สถาบันการบินพลเรือน. (2559). เปิดโฉม สบพ. ก้าวสู่ยุค 2020. Trainair 33, 12-15.

สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล, นิยม ละออปักษิณ และวิศาล มหาสิทธิวัฒน์. (2553). KPI รายบุคคล: สุดยอดบริหารผลลัพธ์ขององค์กร. กรุงเทพฯ: สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

สำราญ มีแจ้ง และสมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2556). การประเมินผลการปฏิบัติงานแนวใหม่ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพจน์ นาคสวัสดิ์. (2561). กรณีศึกษาการปรับปรุงระบบประเมินผลงานและ 30 KPls ที่ควรทราบ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์.

สุรภี วรรณบูรณ์, ศรีวัฒนา จักรานุพงศ์, วัลญา พรพิรุณ และจารุเนตร เกื้อภักดิ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สุวรรณี แสงมหาชัย. (2560). องค์การและการจัดการ = Organization and management (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิชัย ศรีเมือง. (2556). KPI เพื่อประเมินความสำเร็จของหัวหน้างานสำหรับผู้บริหาร. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

อัจฉราพร ปะทิ. (2559). ความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนต่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง : กรณีศึกษาประชาชนในตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2554). Performance indicators PIs dictionary. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Marr, B. (2012). Key performance indicators : the 75 measures every manager needs to know. Harlow : Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30