การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสีทอง

ผู้แต่ง

  • ดาราวรรณ พลนอก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นาถรพี ตันโช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

DOI:

https://doi.org/10.60101/mmr.2023.261483

คำสำคัญ:

การสื่อสารตลาดแบบบูรณาการ , การตัดสินใจ , ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสีทอง และเพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสีทอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานีและเคยซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสีทอง จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ประกอบไปด้วย ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบแบบทีอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ที่มีความแตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสีทองแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีการตัดสินใจซื้อมากกว่าเพศชาย และผู้ที่มีอายุในกลุ่ม35 - 40 ปี มีการตัดสินใจซื้อมากกว่ากลุ่มอายุ 56 - 61 ปีขึ้นไป ส่วนระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่มีความแตกต่างกันไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมาหารถั่งเช่าสีทองไม่แตกต่างกัน และพบว่าการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ด้านโฆษณาส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ถั่งเช่าสีทองมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการขายโดยพนักงาน และด้านการประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการด้านการตลาดทางตรงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่าสีทอง

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การเคหะแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลประชากรจังหวัดปทุมธานี. สืบค้นจาก https://nhic.nha.co.th/archives/tag/nha

โญษดา อ่อนเนียม และ สุมาลี สว่าง. (2562). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลธัญบุรี, 6(1), 1-13.

ไทยโพสต์. (2565). ดุสิตโพลชี้คนไทยใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้นหลังมีโควิด-19 ระบาด. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/73859

ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร. (2561). การรับรู้ข้อมูลการสื่อสารการตลาดและกลยุทธ์การตลาดอิเล็กทรอนิกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บริษัท มินเทล (ประเทศไทย) จำกัด. (2564). รวมเทรนด์ผู้บริโภคระดับโลกประจำปี 2564. สืบค้นจาก https://is.gd/ylux9a

ปารมิตา สุทธปรีดา เจริญตา, สุธานันท์ โพธิ์ชาธาร และ พวงพรภัสส์ วิริยะ. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(1), 167-179.

พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2562). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสงคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 67-79.

ภัสส์ธีมา วิกรัยชยากูร. (2559). ค่านิยม การรับรู้ดานคุณค่าผลิตภัณฑ์ การรับรู้ความเสี่ยง และการสื่อสาร ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อการออกกำลังกายของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ลิขิตา เพนคา. (2564). เจาะลึก “ถั่งเช่า” สมุนไพรรักษาโรค. สืบค้นจาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ถั่งเช่า

วรัชญา ธนูศิลป์ และ สุมาลี สว่าง. (2564). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เวชสำอางยูเซอรินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ

ครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564 (น. 739-753). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principles of marketing (15th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing management: The millennium (14th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-09

How to Cite

พลนอก ด. ., & ตันโช น. . (2023). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารถั่งเช่าสีทอง. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10(2), 61–73. https://doi.org/10.60101/mmr.2023.261483