ความน่าเชื่อถือของโฆษณาประเภทอินโฟเมอร์เชียล และความไว้ใจในสื่อ ที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงาน ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความน่าเชื่อถือ , โฆษณาประเภทอินโฟเมอร์เชียล , ความไว้ใจในสื่อ , การตั้งใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความน่าเชื่อถือของโฆษณาอินโฟเมอร์เชียล และความไว้ใจในสื่อ รวมทั้งอิทธิพลร่วมของความน่าเชื่อถือของโฆษณาอินโฟเมอร์เชียลกับความไว้ใจในสื่อ ที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงาน โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากผู้บริโภคที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รู้จักโฆษณาอินโฟเมอร์เชียล และเคยใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จำนวน 400 คน และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลจากการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางด้านความเชื่อใจของโฆษณา และความจริงของโฆษณามีอิทธิพลทางบวกต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อนำความน่าเชื่อถือของโฆษณาอินโฟเมอร์เชียลมารวมกับความไว้ใจในสื่อแล้ว พบว่า ความซื่อสัตย์ของโฆษณากับความไว้ใจในสื่อ ก็มีอิทธิพลในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นกัน
References
คงพัฒน์ เค้าอ้น. (2563). ราคา ความไว้วางใจ คุณค่าการโฆษณา และการสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อประกันภัยการเดินทางของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
ทัศวรรณ จิตตยะโสธร. (2556). การศึกษารูปแบบการโฆษณาแฝงในโทรทัศน์ดาวเทียม : กรณีศึกษารายการเพลงติดดาว ช่อง FAN TV ของบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
นัชฐภรณ์ อ่อนแก้ว. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการซื้อสินค้าหรือบริการที่มีการโฆษณาผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการของไลน์ (Line official account) ของผู้บริโภค. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
ปิยพรหม สมบูรณ์สุนิธิ. (2561). อิทธิพลของคุณค่าร่วม การสื่อสาร และพฤติกรรมไม่โกง ที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในบริษัท จัดจำหน่ายอาหารเสริมเพื่อสุขภาพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
พรทรัพย์ ฉัตรศิริสุข. (2561). การเปิดรับความน่าเชื่อถือของรายการโฮมช็อปปิ้งในทีวีดิจิทัลและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, กรุงเทพฯ.
พรปวีณ โพธิมาศ. (2566). การศึกษาทัศนคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ถึงความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 8(5), 46-60.
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. (2563). มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยเรื่องร้องเรียน ‘โฆษณาเกินจริง’ ยังครองแชมป์ตลอดปี 62. สืบค้นจาก: https://www.consumerthai.org/news-consumerthai/ffc-news/4421-630114consumersituation2019.html
ศิริวรรณ พันธุ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารผ่านออนไลน์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 63-72.
สถาบันพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการ SME. (2562). เรื่องกรณีศึกษาโฮมช้อปปิ้ง 1781 รายได้กว่า 3,800 ล้านบาทใน 3 ปี. สืบค้นจาก: https://taokaemai.com/กรณีศึกษาโฮมช้อปปิ้ง-1781-ร/.
สุพิกา เพชรพิทักษ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าไอทีทางออนไลน์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิญญา อิงอาจ. (2563). ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 94-113.
อาภาภรณ์ วัธนกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทางเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมของประเทศไทย. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
เอ็ม จี อาร์ ออนไลน์ . (2565). ทีวีโฮมชอปปิ้ง 1.6 หมื่นล้าน ฟีเวอร์รับปี 65 โตอีก 10%. สืบค้นจาก https://mgronline.com/business/detail/9650000050864
Cotte, J., Coulter, R. A., & Moore, M. (2005). Enhancing or disrupting guilt: The role of ad credibility and perceived manipulative intent. Journal of Business Research, 58(3), 361-368. Retrieved from https://doi.org/10.1016/S0148-2963(03)00102-4
Ganesan, S. (1994). Determinants of long-term orientation in buyer-seller relationships. Journal of Marketing, 58(2), 361-368.
Lowry, P. B., Wilson, D. W., & Haig, W. L. (2014). A picture is worth a thousand words: Source credibility theory applied to logo and website design for heightened credibility and consumer trust. International Journal of Human-Computer Interaction, 30(1), 63-93.
Moorman, C., Zaltman, G., & Deshpande, R. (1992). Relationships between providers and users of market research: The dynamics of trust within and between organizations. Journal of Marketing Research, 29(3), 314-328.
Morgan, R. M., & Hunt, S. D. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.
Nader, S. S., & Maizatul, A. I. (2013). A customer loyalty formation model in electronic commerce, 559-564. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/ science/article/pii/S026499931300326X.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว