การจำแนกกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกในประเทศไทย เพื่อออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาด

ผู้แต่ง

  • รศิตา คล้ายสุบรรณ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร
  • อัจฉรา เกษสุวรรณ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

โพรไบโอติก, ปัจจัยเชิงจิตวิทยา, คุณค่า, การวิเคราะห์กลุ่ม, กลยุทธ์ทางการตลาด

บทคัดย่อ

ปัจจุบันกระแสเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ของการดูแลร่างกายและพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกตระหนักถึงการเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกลุ่มอาหารเสริมประเภทวิตามินต่าง ๆ และโพรไบโอติก (Lordan, 2021)

การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลารวมถึงรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจก่อให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวนและปัญหาในการขับถ่าย ซึ่งการปรับสมดุลให้แก่ลำไส้ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จะเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ (นฤมล มงคลธนวัฒน์, 2558) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว คือ โพรไบโอติก (Probiotics)
โดยโพรไบโอติก หมายถึง จุลินทรีย์ดีที่มีชีวิตขนาดเล็กที่มีอยู่ในทางเดินอาหารของมนุษย์ เป็นหนึ่งในอาหารฟังก์ชัน (Functional food) ซึ่งเมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ ทางการแพทย์พบว่าโพรไบโอติกสามารถรักษาและป้องกันภาวะลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย โรคลำไส้แปรปรวน แม้กระทั่งภาวะท้องผูกเรื้อรังก็พบว่าโพรไบโอติกมีส่วนทำให้ภาวะเหล่านี้ดีขึ้น (วีรกิจ
หิรัญวิวัฒน์กุล, 2561)

References

นพรัตน์ อุดมวงศ์. (2563). การรับรู้คุณค่า และคุณภาพการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านขายยาที่มีหลายสาขา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

นฤมล มงคลธนวัฒน์. (2558). ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ไม่ผลิตจากนมกับสุขภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 20(2), 209-220.

วีรกิจ หิรัญวิวัฒน์กุล. (2561). โพรไบโอติกส์. Retrieved from https://www.nonthavej.co.th/Probiotics.php

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). "อาหารเป็นยา” เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่. สืบค้นจาก http://www.tpso.moc.go.th/th/node/11710

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัย (Full Proposal) ประจำปีงบประมาณ 2565 (รอบที่ 2). สืบค้นจาก https://pmuc.or.th/?p=8146

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2564). นายกฯ ดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทยเพิ่ม GDP อีก 1 ล้านล้านบาท ใน 6 ปี. สืบค้นจาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38369

อรวรรยา เหลืองรังษี. (2561). แรงจูงใจในการบริโภคนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

Cochran, W. G. (1991). Sampling Techniques (3rd Ed.). New York: John Wiley and Sons.

Grand view research. (n.d.). Probiotics Market Size, Industry Report, 2021 -2030. Retrieved from https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/probiotics-market

Guay, F. J., Chanal, C. F., Ratelle, H. W., Marsh & Boivin, M. (2010). Intrinsic, identified, and controlled types of motivation for school subjects in young elementary school children. British Journal of Educational Psychology, 80, 711–735.

Knowledge Sourcing Intelligence. (n.d.). Thailand Probiotics Market. Retrieved from https://www.knowledge-sourcing.com/report/thailand-probiotics-market

Kopp, C. M. (2020). Perceived Value. Retrieved from https://www.investopedia.com/terms/p/perceived-value.asp

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (14th ed.). USA: Pearson Education.

Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2021). Technology for Humanity (1st ed.). USA: John Wiley & Sons.

López-Mas, L. A., Claret, M. J., Reinders, M., Banovic, A., Krystallis & Guerrero, L. (2021). Farmed or wild fish? Segmenting European consumers based on their beliefs. Aquaculture, 532. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.aquaculture.2020.735992

Lordan, R. (2021). Dietary supplements and nutraceuticals market growth during the coronavirus pandemic - Implications for consumers and regulatory oversight. PharmaNutrition, 18. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.phanu.2021.100282

Maharaj, A. M., Neela, B., & Marsha, S. (2020). Evaluation of the Motivational Factors Promoting the Consumption Nutraceuticals sold at Health Food Stores in Trinidad. the Caribbean Agro-Economic Society, 12.

Malhotra, N. K. (2006). Basic Marketing Research: A Decision-making Approach (2nd ed.). New Jersey, USA.: Pearson/Prentice Hall.

Nguyen, L. M., Ferge, K. K., Vaughn, A. R., W. Burney, L. H. T., Pan, A., Nguyen, V., & Sivamani, R. K. (2020). Probiotic Supplementation and Food Intake and Knowledge Among Patients and Consumers. Probiotics and Antimicrobial Proteins, 12, 824-833.

Ortiz, A., Carlos, D.-C., David, T., Miguel, E., Eva, C., & Paula, G. (2020). Consumption of fresh Iberian pork: Two-stage cluster for the identification of segments of consumers according to their habits and lifestyles. Meat Science, 173, Retrieved from 10.1016/j.meatsci.2020.108373

Sirico, F., Miressi, S., Castaldo, C., Spera, R., Montagnani, S., Meglio, F. D., & Nurzynska, D. (2018). Habits and beliefs related to food supplements: Results of a survey among Italian students of different education fields and levels. PLoS ONE, 13(1), Retrieved from https://doi.org/10.1371/journal.pone.0191424

Smith, J. B., & Colgate, M. (2014). Customer Value Creation: A Practical Framework. Journal of Marketing Theory and Practice, 15, 7-23.

Woodruff, R. B. (1997). Customer value: The next source for competitive advantage. Journal of Academy of Marketing Science, 25, 139-153.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27