พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, ภาพลักษณ์ตราสินค้า, การตัดสินใจเลือกซื้อบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และต้องเคยใช้หรือกำลังใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร จำนวน 400 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-Test, F-test, Welch Test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากผลการวิจัย ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน ขณะที่พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่า ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และด้านการฟื้นฟูสุขภาพ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า พบว่า ด้านคุณลักษณะ ด้านทัศนคติ ด้านความชื่นชอบของการเชื่อมโยงตราสินค้า และด้านเอกลักษณ์ของการเชื่อมโยงตราสินค้า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพรของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กมลชนก ก้าวสัมพันธ์ และปะราสี เอนก. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทบำรุงร่างกายของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่, วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(2), 183-198.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). สถิติผู้สูงอายุปี 2560. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1533055363-125_1.pdf.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ. ศ. 2546. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/download/laws/regulation_th_20152509163042_1. pdf.
กระทรวงสาธารณะสุข. (2556). CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (Community Based Rehabilitation). กรุงเทพ:พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2554). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปัทมาสน์ เพชรสม. (2558). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ภุชงค์ เมนะสินธุ์. (2553). ลักษณะทางประชากรศาสตร์และทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. Journal Humanities and Social Sciences, 6(2), 9-23.
ศิริสุข นาคะเสนีย์. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 39-48.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). แนวโน้มการเติบโตตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ. สืบค้นจาก https://www. Kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/HealthyProduct.pdf.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/business/ sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Aging-Market_SME-Trea-sure_2018. pdf.
ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์. (2559). เจาะตลาดอาหารเสริมความงามกับความท้าทายในอนาคต.
สืบค้นจาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/2858 27 ตุลาคม 2016.
ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์.(2560). EIC Analysis: ตลาดอาหารเสริมกับการเติบโต. สืบค้นจาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/2858.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2560). เส้นทางเกษตรไทย ก้าวต่อไปสู่เกษตรมูลค่าเพิ่ม.วารสาร สนค., 7(66), 3.
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2554). เส้นทางชีวิตและการเรียนรู้ เล่ม 3: วิถีแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัยความท้าทายประเทศไทย. เอกสารเสนอที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์การเมือง ราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ.
Anselmsson, J., Bondesson, N. V., & Johansson, U. (2014). Brand image and customers' willingness to pay a price premium for food brands. Journal of Product & Brand Management, 23(2), 3-37. doi/10.1108/JPBM-10-2013-0414/full/html
Best, J.W. & Kahn, V.J. (1981). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. New York : Bantam Books.
Gutenbrunner, A.W., A Chamberlain, (2007) White Book on Physical and Rehabilitation Medicine in Europe. Journal of Rehabilitation Medicine, 54(2), 198-213.
Frank R. Kardes, Maria L. Cronley & Thomas W. Cline. (2011). Consumer Behavior. Mason, OH : South-Western, Cengage Learning.
Keller, K. L. (2003). Strategic brand management : Building, measuring, and Management brand equity (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. Englewood Cliffs : Prentice Hall.
Kotler, P. (2012). Marketing Management. Pearson Education. New Jersey: Prentice Hall.
Likert, R. A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.
Marshall, G. W., and Johnston, M. W. (2010). Marketing management. New York: McGraw-Hill, Inc.
Muhammad, E. M., Muhammad, M. G., Hafiz, K. I., Qasim, A., Hira, H., Muhammad, N., and Bilal, A. (2013). World Applied Sciences Journal, 23(1),117-122.
Pender, N. J., Murdaugh. C. L., and Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice (5th ed). New Jersey : Pearson Education, Inc.
Ross, S. D., James, J. D., & Vargas, P. (2006). Development of a scale to measure team brand associations in professional sport. Journal of Sport Management, 20, 260-279.
Schiffman, L. G., Kanuk, L. L., and Wisenblit, J. (2010). Consumer Behavior.Pearson Education: Prentice Hall.
Shank, M. D. (2008). Sports marketing: A strategic perspective. Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall.
Stucki, G., Cieza, A., and Melvin, J. (2007). The International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF): a unifying model for the conceptual description of the rehabilitation strategy. Journal of Rehabilitation Medicine: official journal of the UEMS European Board of Physical and Rehabilitation Medicine, 39, 279-285.
Yamane T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว