ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารอีสานในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ภักดี มะนะเวศ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

แนวคิดร้านอาหารอีสาน, ปัจจัยส่วนบุคคล, ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการใช้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารอีสานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารอีสานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางการตลาดธุรกิจบริการร้านอาหารอีสาน วิธีดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และกำลังใช้บริการร้านอาหารอีสานที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 43 แห่งที่กระจายทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งครอบคลุม 20 เขตปกครองทั้งนี้ ผู้วิจัยยังใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามความสะดวก กล่าวคือเลือกศึกษาเฉพาะร้านอาหารอีสานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตปกครองเป้าหมายที่รู้จักคุ้นเคยและเข้าถึงข้อมูลได้ โดยไม่คำนึงถึงขนาดและรูปแบบการดำเนินกิจการของร้าน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการติดต่อขอความอนุเคราะห์ และความร่วมมือจากผู้ประกอบการของแต่ละร้านในการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาที่เหมาะสมของทุกฝ่ายเป็นการล่วงหน้า ซึ่งร้านอาหารอีสานที่ได้ยืนยันกลับมาแล้วและผู้วิจัยได้ใช้เป็นพื้นที่ศึกษา (สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2556) รวม 400 ตัวอย่าง และใช้สถิติต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson’s Chi-Square Independent-Sample t-test และ One-way ANOVA (F-test) ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 15,001-30,000 บาท มีสถานภาพโสด และมีภูมิลำเนาเดิมในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพ และภูมิลำเนาเดิม ยกเว้น ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารอีสานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยประสมทางการตลาดธุรกิจบริการส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด บุคคลกร และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ยกเว้นกระบวนการ ให้บริการ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารอีสานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กนกพร กาญจน์วัฒนกุล. (2551). การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดของอุปกรณ์ตกแต่งรถจักรยานยนต์: กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2554). ตลาดและแนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรม. วารสารอุตสาหกรรมสาร,54.

กฤษฎา โสมนะพันธุ์. (2556). แรงจูงใจในการรับประทานอาหารไทยนอกบ้านของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต,3(4), 695-714.

เกรียงศักดิ์ เอี่ยมพุทธรักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

ขนิษฐา เทพบรรเทิง. (2553). ปัจจัยการตัดสินใจใช้บริการศูนย์อาหาร ของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต).

จริยา ส่องแสงกาญจนา. (2555).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์เชฟโรเลตแคปติวาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.(รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

จักรี รุจิขจรเดช. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ตลาดคลองสวน 100 ปี อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรบางการ. (รายงานปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

เจฌิญา อติชาติมณี. (2552). การรับรู้ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทแป้งทาหน้าของผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 20-35 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

ฐิตาภัทร์ รัตน์นิติพงศ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารจากร้านอาหารหาบเร่แผงลอยบนถนนสีลมของผู้บริโภคกลุ่มวัยทำงาน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรี

นครินทรวิโรฒ).

ณัฐพร กองสัมฤทธิ์. (2557). ปัจจัยที่ธุรกิจบริการออกแบบตกแต่งภายในต่างชาติพึงมีเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในประเทศไทย.(ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด.

ดนุรัตน์ ใจดี. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกใช้บริการร้านอาหารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

ไทยอาชีพดอทคอม. (2557). ลาบน้ำตก อาหารอีสาน ทำง่าย ขายได้ สร้างรายได้ สร้างอาชีพ. สืบค้นจาก http://www.thaiarcheep.com/

ธีระภัทร์ เอกผาชัยสวัสดิ์. (2551). ประชากรศึกษา. สืบค้นค้นจาก http://computer.pcru.ac.th/emoodledata

เนาวรัตน์ แก้วสัตยา. (2552). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการร้านอาหาร: กรณีศึกษา ภัตตาคารอาหารเกาหลี-ญี่ปุ่น ซูกิชิ ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ปัญญาพร อนุวัตคุณธรรม. (2556). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์อาหารในศูนย์การค้าเดอะมอลล์. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

ปิยพรรณ รัตนพิกุล. (2554). แรงจูงใจในการเลือกใช้ยาแผนโบราณของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรังสิต).

ฝนทอง ถิ่นพังงา. (2555). แรงจูงใจของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านกาแฟอเมซอนในปั๊มน้ำมัน ปตท. ในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

พรชัย ปิลันธนรัตน์. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ

อพาร์ทเม้นท์ของผู้บริโภคในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

พัชรา เผือกหนู. (2553). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์และวรวัติ กิติวงค์. (2552). ความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย. (วิยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

พิมลทิพย์ เปรมศิริศักดิ์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของผู้บริโภควัยเกษียณ. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

มาลินี สนธิมูล. (2556). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรังสิต).

รัชนีวรรณ วัฒนปริญญา. (2556). การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวารสารการตลาด และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรังสิต,1(2), 317-333.

รุจศลักษณ์ ธูปกระจ่าง. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภค กรณีศึกษา เขต Miami-Dade County มลรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

วราชัย ขิงทอง. (2555). เอกลักษณ์รานอาหารอีสาน ตำมั่ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).

ศิรินันท์ อมรประเสริฐชัย. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทปิ้งย่าง สุกี้และชาบูชาบูของผู้บริโภคในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ).

ศิริรัตน์ สะหุนิล. (2556). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

สถาพร ศรีนิล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงาน บริษัท บางกอกเฟรท

ฟอร์เวิดเดอร์ จำกัด. (ภาคนิพนธ์หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด).

สมาคมภัตตาคารไทย. (2550 ). กูรูอาหารเผยเคล็ดลับ "ทำร้านอาหารอย่างไรไม่ให้เจ๊ง". สืบค้นจาก https://mgronline.com/smes/detail/9500000054138

สรินพร สูงภูเขียว. (2552). ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า: กรณีศึกษา ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. (การค้นคว้าศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สาวิตรี ลังคง. (2553). ความต้องการส่วนประสมทางการตลาดในร้านอาหารอีสานของข้าราชการ/ พนักงานของรัฐ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). ธุรกิจเด่นประจำเดือนมีนาคม 2557. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1622.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานครจำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2556. สืบค้นจาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2556). รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอและรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556. สืบค้นจาก http://www.bangkok.go.th/upload/ user/00000130/Logo/statistic/stat%202556(thai).pdf.

สุนทรี จารุวัฒนสกุล. (2553). อุปสงค์ของผู้โดยสารต่อการใช้บริการสายการบินกรุงเทพฯ-ภูเก็ต.

(สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

หนึ่งฤทัย อยู่เอี่ยม. (2555). ทัศนคติและการรับรู้ที่มีต่อภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ไหมไทยของเจนเนอเรชั่นวายในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

อภิวิชญ์ เอี่ยมสุขแสง. (2552). กรณีศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้ายอาหารไทยที่ศูนย์การค้า Future Mart พระราม 3 (รายงานการวิจัย). คณะเศรษฐศาสตร์:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรชินันพร วิทยวราวัฒน์. (2555). ความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อศูนย์บริการรถยนต์ฟอร์ดในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

อรอนงค์ สกุลอมรบดี. (2553). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

อัจฉรา นพวิญญูวงศ์. (2550).ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อและการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการขายเสื้อเชิ้ตบุรุษมีตราสินค้าในตลาดบน. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อัญธิฌา ศิริเจริญ. (2556). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเค้กภายใต้ตราสินค้าของอเมริกา: กรณีศึกษา ร้านนิวยอร์ค ชีสเค้กที่คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์. (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

อัปษรศรี ม่วงคง. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่มาใช้บริการภัตตาคารลอยน้ำเรือริเวอร์ไซด์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Kombenjama, W. and Lertrattananon, N. (2011). Services marketing mix of foreign coffee franchiser in Bangkok. (Master’s thesis, Malardalen University).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24