ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วรีสา ตรงคง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การจัดการความเสี่ยง, การบริหารความเสี่ยง COSO, ธุรกิจนำเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไปของกิจการที่ส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาปัจจัยความเสี่ยงภายในที่ส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ธุรกิจนำเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครมีการจัดการความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบสูงต่อการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ คือ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ ได้แก่ มัคคุเทศก์ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีใบอนุญาตในการนำเที่ยวและพาชมสถานที่ท่องเที่ยว และด้านเศรษฐกิจ และการเงิน ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของโลก ปัจจัยความเสี่ยงภายในไม่มีอิทธิพลต่อการจัดการความเสี่ยง

References

โชติอาภาณ์ พัฒนาวงษ์ชัยกุล และ ชื่นจิตร อังวราวงศ์. (2560). การประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในตามแนวคิด COSO กรณีศึกษา กองคลัง เทศบาลตำบลเมืองเก่า จังหวัดขอนแก่น. RMUTL Journal of Humanities and Social Sciences, 5(1), 82-96.

นิศศา ศิลปเสรฐ. (2560). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิสิตภาควิชาศิลปาชีพ. (2559). รูปแบบและแนวโน้มธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวขนาดย่อมของธุรกิจจัดนำเที่ยวเข้าในประเทศ (Inbound Tour Operator). สืบค้นจาก http://kuhumcs.blogspot.com/2016/01/inbound.html

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: บริษัท เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด.

พรรณนุช ชัยปินชนะ, ณัฏฐ์ปาลิดา ศรีคาหน้อย. (2560). การจัดการความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 23(2), 46-55.

ลีลาศ คุณฟอง. (2558). กระบวนการบริหารความเสี่ยงตามกรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรตามกรอบแนวคิด COSO-ERM กรณีศึกษา บริษัท เด สเต โค (เอเชีย) จำกัด. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

วุฒิพันธ์ สันติมิตร. (2557). การจัดการความเสี่ยงด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะช้าง จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ศรัญยา วรากุลวิทย์. (2558). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแวววาว พริ้นติ้ง.

สุณีย์ ล่องประเสริฐ และ ปลื้มใจ ไพจิตร. (2559). จริยธรรมทางธุรกิจของธุรกิจท่องเที่ยวในอำเภอเกาะสมุย. วารสารวิทยาการจัดการ, 3(1), 150-171.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุรินรัตน์ แก้วทอง. (2557). กฎหมายกับการพัฒนา. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/564358

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24