การลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการโหลดสินค้าสำเร็จรูปด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการ DMAIC กรณีศึกษา เครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผง

ผู้แต่ง

  • ภัคคนันท์ รัตนขจรจิตต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปณัทพร เรืองเชิงชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความสูญเปล่าจากความล่าช้า, กระบวนการโหลดสินค้าสำเร็จรูป, กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า, DMAIC เครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากิจกรรมในกระบวนการโหลดสินค้าสำเร็จรูป (2) เพื่อศึกษากิจกรรมที่เกิดคุณค่าและกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า (4) เพื่อเสนอการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการโหลดสินค้าสำเร็จรูปด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการ DMAIC ซึ่งศึกษาจากเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผง ทำการเก็บและรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ร่วมกับการระดมความคิดผู้มีส่วนร่วมจำนวน 15 คน โดยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดความสูญเปล่าด้วยวิธีการ DMAIC พร้อมทั้งแผนผังกระบวนการ รวมถึงเทคนิคแมกกิกามิ ตลอดจนการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุด้วยโปรแกรมมินิแทปเวอร์ชั่น 16 แผนผังต้นไม้ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแบบไคเซ็น ผลงานวิจัย พบว่า กิจกรรมในกระบวนการโหลดสินค้า โดยการเขียนใบกำกับสินค้า เพื่อตรวจรับสินค้าและตรวจสอบความถูกต้อง ใช้ระยะเวลามากและเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า ส่งผลทำให้การส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าเกิดความล่าช้าตามมา ซึ่งเกินกว่าเวลามาตรฐานที่กำหนดไว้ถึง ร้อยละ 85 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าพบว่ากระบวนการทำงานโดยใช้ลงข้อมูลโดยใช้การเขียนและสังเกตยังมีความล่าช้า ผู้ศึกษาจึงเสนอการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการโหลดสินค้าด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการ DMAIC พบว่า สามารถลดระยะเวลาได้ถึง 39 นาทีต่อตู้คอนเทรนเนอร์ ส่งผลทำให้สามารถลดต้นทุนได้ถึง 290,000 บาทต่อปี ผลจากการศึกษานี้ทำให้ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญต่อการลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการโหลดสินค้าสำเร็จรูป โดยตระหนักถึงกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า

References

การค้าไทย. (2561). สินค้าส่งออกสำคัญของไทย. สืบค้นจาก http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomRecode&ImExType=1&Lang

แผนกบัญชี โรงงานชื่นใจ. (2562). รายงานประจำปี 2562. โรงงาน ชื่นใจ.

แผนกโลจิสติกส์ โรงงานชื่นใจ. (2562). รายงานประจำปี 2562. โรงงาน ชื่นใจ.

รัญชนา สินธวาลัย, ตอฮา เตาวโต และอัลฟาฮัด หะยีเตะ. (2561). ศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้า ตามระเบียบวิธี DMAIC. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร, 26(2), 96-109.

วิพุธ อ่องสกุล. (2552). การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work manual). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุพีรยา งามเลิศ, วีระศักดิ์ ศิริกุล. (2558). ศึกษาปัญหาการส่งสินค้าล่าช้า และวิธีการแก้ไขปัญหาการส่งสินค้าที่ล่าช้า กรณี ศึกษา ปริษัท ABC พลาสเตอร์ จำกัด. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2(1), 60-74.

อุไรวรรณ วรรณศิริ. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งโดยแนวคิดลีน กรณีศึกษา ผู้ผลิตนมเปรี้ยว. วารสารวิชาการนายเรืออากาศ, 12(12), 90-99.

Al-Balushi, M., Antony, J., & Kumar, V. (2016). A Lean Six Sigma framework for the Reduction of ship loading Commercial time in the iron ore pelletising industry. Journal: Production Planning & Control the Management of Operations, 27(13), 1092-1111.

Benjamin, W. N. & Andris Freivalds. (2003). Methods, standards, and work design. International edition. Boston: Mcgraw-Hill.

Berger, A. (2004). Smart Things to Know about Six Sigma. Oxford: Capstone Publishing Ltd.

Hoerl, R. W. (1998). Six Sigma Black and the Future of the Quality Profession. Quality Progress, 31(6), 35. อ้างถึงใน วิทยา สุหฤทดำรง และพรเทพ เหลือทรัพย์สุข. (2554). เครื่องมือ Lean six sigma. กรุงเทพฯ: อี.ไอ.สแควร์.

Takashi Osata, Isa Oaokumura. (2007). การวิเคราะห์ Makigami = Roll paper analysis. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Venkateswaran, S., Nahmens, I., & Ikuma, (2013). Improving healthcare Warehouse operations through 5S. Journal: IIE Transactions on Healthcare Systems Engineering, 3(4), 240-253.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24