การจัดการการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับอุปสงค์ตลาด กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • สุปรีชญา บุญมาก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • พงศ์ชยนต์ ศรีสุวรรณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ณัฐวรรณ สมรรคจันทร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.60101/mmr.2023.267866

คำสำคัญ:

การเก็บเกี่ยว , วิสาหกิจชุมชน , สินค้าเกษตร , กำหนดการเชิงเส้น

บทคัดย่อ

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่าการวางแผนการเก็บเกี่ยวในปัจจุบันเกษตรกรใช้ประสบการณ์การทำการเกษตรที่ผ่านมา จึงทำให้การวางแผนการเก็บเกี่ยวไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้น โดยมีวัตถุประสงค์ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายรวมในการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตรที่ต่ำที่สุด โดยค่าใช้จ่ายที่นำมาพิจารณามี 3 ส่วน คือ 1) ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตร 2) ค่าใช้จ่ายในการดูแลระหว่างที่สินค้าเกษตรค้างอยู่ในแปลงปลูก และ 3) ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าเกษตรจากสมาชิกเกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และหาผลเฉลี่ยโดยใช้เครื่องมือโซลเวอร์ (Solver) ซึ่งเป็นฟังก์ชัน Add-ins ในโปรแกรมไมโครซอฟต์ เอ็กเซล (Microsoft Excel) ผลการวิจัยพบว่า หลังจากประยุกต์ใช้แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้นในการนำมาจัดการการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตร ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมจากเดิม 226,626 บาท ลดลงเหลือ 188,025 บาท หรือ ค่าใช้จ่ายลดลง 38,601 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายลดลงร้อยละ 17.03

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้านการวางแผนการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตรของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดเพชรบุรี และสร้างแบบจำลองกำหนดการเชิงเส้น เพื่อใช้วางแผนการจัดการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับอุปสงค์ตลาด จากนั้นทำการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการจัดการการเก็บเกี่ยวระหว่างรูปแบบปัจจุบันและรูปแบบการใช้แบบจำลองกำหนดการเชิงเส้น โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน ทำการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง โดยสัมภาษณ์ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 ราย และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 4 ราย

 

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (ม.ป.ป). เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นจาก https://esc.doae.go.th/เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนว

กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน. (2563). พื้นที่เขตเกษตรกรรมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กิตติพงษ์ พิพิธกุล. (2563). เกษตรอินทรีย์วิถีสู่สังคมเกษตรยั่งยืน : ยุทธศาสตร์พัฒนาข้าวอินทรีย์.วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(1), 116-130.

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2565). แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/ebookcategory/98_ActionPlanforOrganicAgriculture2566-2570/

ฉัตรฑารินัน คำปัน และ ภาณุชิต สายเสมา. (2559). การวางแผนการผลิตและการเก็บเกี่ยวผักเพื่อการบริโภค กรณีศึกษา เกษตรกรรายย่อย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ชัยมงคล ลิ้มเพียรชอบ และ สมยศ เชิญอักษร. (2556). การลดต้นทุนโลจิสติกส์การเพาะปลูกสับปะรดพันธุ์ควีนโดยประยุกต์ใช้กำหนดการเชิงเส้นผสมจำนวนเต็ม. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 36(3), 287-298.

เดชา อินเด. (2547). การบัญชีต้นทุน=Cost Accounting. กรุงเทพฯ: ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค.

นงนภัส ศิริวรรณ์หอม และ สุภาภรณ์ พวงชมพู. (2557). กลยุทธ์การจัดการการผลิตผักกางมุ้งของกลุ่มเกษตรกรบ้านสะอาดสมศรี ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 31(1), 51-61.

ไพศาล กะกุลพิมพ์ และ สุภาภรณ์ พวงชมพู. (2561). การวางแผนการผลิตพืชของเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมวังทองหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 36(1), 85-94.

รัชรินทร์ กุลชาติ. (2558). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ Quantitative Analysis. กรุงเทพฯ: ท้อป.

วีรภัทร พุกกะมาน และ อนิรุทธ์ ขันธสะอาด. (2561). กระบวนการลดต้นทุนการปลูกพืชสวนเกษตรโดยใช้แบบจำลองการลดต้นทุนแบบบูรณาการและเทคนิคโปรแกรมเชิงเส้น: กรณีศึกษาการปลูกลำไยและมะม่วงในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว. วารสารครุศาสตริอุตสาหกรรม, 17(2), 13-22.

สุทธิมา ชำนาญเวช. (2561). การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ Quantitative Analysis for Business. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ ศรีโสมพันธ์. (2557). โครงสร้างการผลิตและการตลาดข้าวหอมมะลิไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Anderson, D., Sweeney, D., Williams, T., & Martin, K. (2011). An Introduction to Management Science Quantitative Approaches to Decision Making (13th edition). South-Western Cengage Learning.

You, P. S., and Hsieh, Y. C. (2017). A Computational Approach for Crop Production of Organic Vegetables. Computers and Electronics in Agriculture, 13, 33-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

How to Cite

บุญมาก ส. ., ศรีสุวรรณ พ. ., & สมรรคจันทร์ ณ. . (2023). การจัดการการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับอุปสงค์ตลาด กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10(2), 113–132. https://doi.org/10.60101/mmr.2023.267866