สมรรถนะในการทำงานด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการขนส่ง กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาบางพลี

ผู้แต่ง

  • อัครพล สมรูป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ปริญ วีระพงษ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

สมรรถนะการทำงานด้านโลจิสติกส์ , บริการขนส่ง , การตัดสินใจใช้บริการขนส่งไปรษณีย์ไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการขนส่งของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาบางพลี และศึกษาสมรรถนะการทำงานด้านโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาบางพลี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ใช้บริการขนส่งของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาบางพลี จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที กรณีตัวแปรสองกลุ่มอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถอดถอยเชิงพหุ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของผู้ใช้บริการ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ของผู้ใช้บริการขนส่ง มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการขนส่ง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาบางพลี และพบว่า สมรรถนะในการทำงานด้านโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่ง บริษัท ไปรษณีย์ไทย สาขาบางพลี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยมีสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ 0.114 (การวางตำแหน่งและบูรณาการกับการจัดการทางโลจิสติกส์) + 0.112 (การทำงานด้วยความโปร่งใส) + 0.247 (การบูรณาการภายใน) - 0.003 (การยืดหยุ่นในการทำงาน) + 0.412 (ระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี) โดยสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยนี้ไปพัฒนาสมรรถนะ การทำงานด้านโลจิสติกส์ในด้านการวางตำแหน่งและบูรณาการกับการจัดการทางโลจิสติกส์ การทำงาน ด้วยความโปร่งใส การบูรณาการภายใน และระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้รับบริการการตัดสินเลือกใช้บริการขนส่ง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาบางพลี เพิ่มขึ้น

References

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สศช. (2561). รายงานดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ปี 2561. สืบค้นจาก www.facebook.com/NESDCLogis

ชนิภรณ์ เอี่ยมสกุลรัตน์. (2558). ความสามารถในการทำงานด้นโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภค. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ณิชมน สาริพันธ์ และ รุ่งนภา กิตติลาภ. (2562). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการค้าส่ง ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 17-25.

ธนภร เหมือนใจ. (2562). ปัจจัยและกิจกรรมทางโลจิสติกส์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการขนส่งสินค้าของผู้ประกอบการธุรกิจดอกไม้ประดับในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 จังหวัดนครนายก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ธิดารัตน์ บุญมาก. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ กรณีศึกษา บริษัท ABC. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.

นาฏยา โพธิมากูล และ อรไท ชั้วเจริญ. (2562). ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ บริษัทขนส่งสินค้าของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

บุษกร คำคง. (2542). กระบวนทัศน์ใหม่การท่องเที่ยวไทย. จุลสารการท่องเที่ยว, 23(4), 60-64.

เบญจพร สุวรรณแสนทวี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการในการขนส่งโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์. (2560). กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์และพัฒนาบุคลากร. วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economics Review, 12(1), 89-98.

พิศิษฐ ตัณฑวนิช และ พนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.

มัลลิกา โตอนันต์ และ สุรภา ไถ้บ้านกวย. (2562). การศึกษาประสิทธิภาพการขนส่งของศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ ในเขตจังหวัดนนทบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ศิริรัตน์ ญาณปรีชา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของลูกค้าบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). การเติบโตของสินค้าขายออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/

สำนักโลจิสติกส์. (2558). การประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) และการประเมินประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPL). กรุงเทพ: สํานักโลจิสติกส์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.

สุนทรี เจริญสุข. (2555). การจัดการโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน: กรณีศึกษา บริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 15(30), 119-137.

สุพพัต อิสราศิวกุล. (2561). การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานขับรถขนส่ง ตามหลัก 7R กรณีศึกษา: กลุ่มธุรกิจขนส่งสินค้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

Barnard, C. I. (1938). The functions of the executive. Cam-bridge, MA: Harvard University Press.

Cooper, R. D. & Emory, C. W. (1995). Business Research Methods (5th ed.). Chicago, IL: Irwin.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Keller & Kotler. (2006). Marketing management (12 th ed.). Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall.

Matwiejczuk, R. (2013). Logistics potentials in business competitive advantage Creation. Logforum. Scientific Journal of Logistics, 9(4), 265-275.

Moody, P. E. (1995). Decision Making: Provan Methods for Better Decision. Singapore: McGraw-Hill Book.

Simon, H. A. (1960). The New Science of Management Decision. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27