การเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์ พิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ศุภรัตน์ สกุลณี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เอกสิทธิ์ สนามทอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาหลักสูตร, การฝึกอบรม, ยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานของยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ (2) เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงบรรยายด้วยวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อาจารย์โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์จันเสน ยุวมัคคุเทศก์จันเสน เจ้าอาวาสวัดจันเสน ปราชญ์ชาวบ้านชุมชนจันเสน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบการสังเกต (2) แบบสัมภาษณ์ และ (3) การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา ตามหลักวิเคราะห์ การตีความความ เปรียบเทียบข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล และการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการดำเนินงานของยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าสภาพการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์จันเสน (2) ด้านการดำเนินงานของยุวมัคคุเทศก์ และ (3) ด้านปัญหาอุปสรรคของยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน (2) สมรรถนะของยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน ประกอบด้วยสมรรถนะ 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้ (2) ทักษะ และ (3) ด้านทัศนคติ และ (3) การเสนอแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมของพิพิธภัณฑ์จันเสน จังหวัดนครสวรรค์ มี 3 แนวทาง ได้แก่ (1) แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสำหรับพิพิธภัณฑ์จันเสน (2) แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสำหรับยุวมัคคุเทศก์พิพิธภัณฑ์จันเสน และ (3) แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสำหรับชุมชน

References

เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์. (2549). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อย เรื่อง วัดพระศรีรัตน มหาธาตุวรมหาวิหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

กึงเจียง ฮง. (2552). ผลการสอนโดยใช้สื่อเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับยุวมัคคุเทศก์ที่มีต่อความสามารถในการพูดของนักเรียนวิทยาลัยกำปงเฌอเตียลราชอาณาจักรกัมพูชา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

กุลวรา สุวรรณพิมล. (2556). หลักการมัคคุเทศก์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แสงดาว.

คณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์ และแหล่งเรียนรู้. (2558). แผนยุทธศาสตร์การบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). สืบค้นจาก http://mlic.okmd.or.th/file/22112017110517.pdf.

จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียน สโตร์.

ชัยชนะ อินยันญะ. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยวเมืองศรีเทพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย.

ชาญ สวัสดิ์สามี. (2556). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพเทคนิคการฝึกอบรมและการจัดสถานที่ประชุม/ฝึกอบรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์สวัสดิการสำนักงาน กพ.

ไชยปกรณ์ ป้องญาต. (2562). ศักยภาพมัคคุเทศก์ที่จะก่อให้เกิดความประทับใจหรือความชอบของ นักท่องเที่ยว ชาวเวียดนามในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ณัฏฐนันท์ ตาบโกไสย์. (2551). การพัฒนายุวมัคคุเทศก์ในการนำชมแหล่งท่องเที่ยวหมู่ที่ 1 ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และชรินทร์ วรกุลกิจกำธร. (2558). หลักการมัคคุเทศก์ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ปาริยา พงษ์นิยะกูล. (2553). การใช้ชุดเรียนมัคคุเศก์นำเที่ยวเพื่อพัฒนาทักษะการพูดที่เน้นการออกเสียงเน้นหนักและทำนองเสียง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

พระวิริยะ ค้ำคูณ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมัคนายกน้อยสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 อำเภอ หนองแชง จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

พิมพรรณ รังสิกรรพุม. (2553). การจัดการมัคคุเทศก์ท้องถิ่นโดยชุมชนบนพื้นที่สูงตำบลทุ่งสมอ อำเภอเขาค้อ.จังหวัดเพชรบูรณ์ (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พิสิษฐ์ ณัฎประเสรฐิ. (2560). การพัฒนารูปแบบการ บริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นานมีบุ๊คส์ พลับลิเคชั่นส์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นักพิมพ์คำสมัย.

ภุชงค์ พันธ์เพชร. (2555). เพื่อพัฒนาหลักสูตรมัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยววัดไผ่โรงวัว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพลีลา).

มงคล กรัตะนุตถะ. (2556). เทรนนิ่งแบบมืออาชีพ. นนทบุรี : โรงพิมพ์ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2540). คู่มือนำชมพิพิธภัณฑ์จันเสน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ยิ่งเจริญการพิมพ์.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2551). พิพิธภัณฑ์ของคนธรรมดา. กรุงเทพมหานคร: มูลนินธิเล็ก-ประไพวิริยะพันธุ์.

ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2531). พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2557). สมรรถนะสำคัญของผู้บริหารมืออาชีพ Significant Competencies of Professional Administrators. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 6(12), 165-183.

สจีวรรณ ทรรพวสุ. (2548). หลักสูตรและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ ฉบับที่สิบเอ็ด. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf.

Anna Johnson. (2009). ’Museum Education and Museum Educators. ‘IN The museum Educator’s Manual Educators Share Successful Techniques. United States of America: American Association of Museums.

Celine Du Sablon & Genevieve Racette, (1991). Les effets d’un programme éducatif muséal chez des élèves du primaire. Canadian Journal of Education/Revue Canadienne De l’éducation, 16(3), 292-312.

Spencer, L.M. & Spencer, S.M. (1993). Competency at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.

Tine Seligmann.,ed., (2014). Collaborative Partnerships Between Museums Teacher Training colleges and schools. Roskilde: museum of Contemporary Art.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-16