การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินสำหรับผู้เกษียณอายุ กรณีศึกษา: การรับเงินบำนาญจากกองทุนการออมแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • สุพัฒนา เตโชชลาลัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • ปรมินทร์ โฆษิตกุลพร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • พรสวัสดิ์ ผดุง คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

DOI:

https://doi.org/10.60101/mmr.2024.268761

คำสำคัญ:

ผลตอบแทนทางการเงิน, การออม , ผู้เกษียณอายุ , กองทุนการออมแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินสำหรับผู้เกษียณอายุ กรณีศึกษา: การรับเงินบำนาญจากกองทุนการออมแห่งชาติ โดยเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนกับอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ อัตราผลตอบแทนของกองทุนการออมแห่งชาติ และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเครื่องมือในการวิเคราะห์ ได้แก่ ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) และอัตราผลตอบแทนซื้อลด (Internal Rate of Returns: IRR)

ผลการวิจัยพบว่า หากผู้ออมเริ่มออมตั้งแต่อายุ 15-60 ปี จะมีระยะเวลาคืนทุนเมื่อผู้ออมมีอายุ 79.14 ปี ถ้าผู้ออมเริ่มออมตั้งแต่อายุ 30-60 ปี จะมีระยะเวลาคืนทุนเมื่อผู้ออมมีอายุ 75.62 ปี นอกจากนี้ หากผู้ออมเริ่มออมตั้งแต่อายุ 45-60 ปี จะมีระยะเวลาคืนทุนเมื่อผู้ออมมีอายุ 77.55 ปี อย่างไรก็ตาม หากผู้ออมเริ่มออมตั้งแต่อายุ 50-60 ปี จะมีระยะเวลาคืนทุนเมื่อผู้ออมมีอายุ 93.91 ปี สำหรับผลการวิจัยมูลค่าปัจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนซื้อลด พบว่า ผู้ออมที่เริ่มออมเงินตั้งแต่อายุน้อยจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าผู้ออมที่เริ่มออมเมื่อมีอายุมากแล้ว

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/1

กองทุนการออมแห่งชาติ. (2566). บทความ. สืบค้นจาก https://www.nsf.or.th/

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ. (2566). รายงานประจำปี. สืบค้นจาก https://www.gpf.or.th/thai2019/6Result-report/main.php?page=1&menu=reports&lang=th&size= n&pattern=n

กาญจน์เกล้า แสงเพชร. (2565). การเงินธุรกิจ Corporate Finance. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จุฑารัตน์ ยกถาวร. (2565). กองทุนการออมแห่งชาติ: บทบาทการลดความเหลื่อมล้ำระบบบำนาญในประเทศไทย. วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา, 22(2), 119-140.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน. (2564). พื้นฐานการเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

ธนาคารกรุงไทย. (2566). พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นออมอุ่นใจ ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นจาก https://krungthai.com/th/krungthai-update/promotion-detail/1488

ธนาคารกรุงไทย. (2566). อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ออมทรัพย์ กระแสรายวัน. สืบค้นจาก https://krungthai.com/th/rates/viewdetail/28

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). สรุปประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/th/thai-economy/economic-outlook.html

พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล. (2563). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนต์ทนา คงแก้ว, นัดพลพิชัย ดุลยวาทิต และ ธันยาภรณ์ ดำจุติ. (2564). การลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินของผู้สูงอายุยุคดิจิทัล. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 118-140.

มันนี่ฮับ. (2566). ความรู้ทางการเงิน. สืบค้นจาก https://www.moneyhubservice.com/articles

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). รูปแบบที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อมและความเท่าทันทางการเงินที่เหมาะสำหรับคนก่อนวัยเกษียณเพื่อสร้างหลักประกันที่มั่นคงสำหรับการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ภาคกลางตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง. ลพบุรี: วี.เอส.ยูซท์ ก็อปปี้ แอนซัพพลาย.

สำนักงานประกันสังคม. (2566). ข้อมูลสถิติประกันสังคม. สืบค้นจาก https://www.sso.go.th/wpr/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). สถิติแรงงาน. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/02.aspx

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). เส้นความยากจน. สืบค้นจากhttps://www.nesdc.go.th/search_result.php

สุรีย์พร สลับสี และโชติ บดีรัฐ. (2565) กองทุนการออมแห่งชาติ: ความมั่นคงในวัยเกษียณของแรงงานนอกระบบ. วารสารการพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(10), 421-441.

อนพัทย์ หนองคู และ พรวรรณ นันทแพศย์. (2559). การวิเคราะห์รูปแบบการออมสำหรับวัยสูงอายุในประเทศไทยและต่างประเทศ. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 5(1), 145-153.

อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล. (2554). ความท้าทายและยั่งยืนของกองทุนการออมแห่งชาติ. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 2(4), 1-17.

Mercer CFA Institute Global Pension Index. (2023). Global Pension Index. Retrieved from https://www.mercer.com/about/newsroom/mcgpi-2023-sees-netherlands-return-to-the-top-spot-and-highlights-potential-of-ai-to-improve-retirement-outcomes/

Ooijen, V. R., Alessie, R., & Kalwij, A. (2015). Saving Behavior and Portfolio Choice After Retirement. De Economist, 163, 353-404. doi 10.1007/s10645-015-9254-z

UNDP. (2022). Human Development Reports 2021/2022. Retrieved from https://hdr.undp.org/content/announcement-202122-human-development-report-set-be-released-8-september-2022

World Bank. (2023). Societal Aging. Retrieved from https://www.worldbank.org/en/ topic/pensions/brief/societal-aging

World Health Organization (2023). Thailand’s Leadership and Innovations Towards Healthy Ageing. Retrieved from https://www.who.int/southeastasia/ news/feature-stories/detail/thailands-leadership-and-innovation-towards-healthy-ageing

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20

How to Cite

เตโชชลาลัย ส. ., โฆษิตกุลพร ป. ., & ผดุง พ. . (2024). การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินสำหรับผู้เกษียณอายุ กรณีศึกษา: การรับเงินบำนาญจากกองทุนการออมแห่งชาติ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 11(1), 24–46. https://doi.org/10.60101/mmr.2024.268761