ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายของ ผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • วัฒนา อำพรรรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • วาสนา ศิลป์รุ่งธรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

DOI:

https://doi.org/10.60101/mmr.2024.271232

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ, ส่วนประสมการตลาดบริการ , การตัดสินใจใช้บริการ

บทคัดย่อ

  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพการให้บริการของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายขนาดเล็กที่มีสาขาตั้งแต่ 1-4 สาขา และอายุ 18 ปีขึ้นไป ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 390 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ

ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายที่ไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ได้แก่ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาดด้านบุคลากร และด้านลักษณะทางกายภาพส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี และ 3) ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรม ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และด้านการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี   

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจฟิตเนส: บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือน พฤษภาคม 2562. https://www.dbd.go.th

จิราภา พึ่งบางกรวย. (2550). กลยุทธ์การตลาดของฟิตเนสเซ็นเตอร์ในประเทศไทย. วารสารศรีปทุม ปริทัศน์, 6(2), 26-37.

ฐิติมา ทิพย์ทอง. (2563). คุณภาพการบริการ ส่วนประสมการตลาดบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานออกกําลังกายฟิตเนสในอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ณรงค์ฤทธิ์ เลิศชัยรัตน์ และ ชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of the Association of Researchers, 25(2), 345-360.

ธนยศ วุฒิปราโมทย์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ขนาดกลางของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธัญญานันท์ จิระธรรมวิทย์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการฟิตเนสของผู้หญิงในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราชญ์ ศิริบาล. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ คุณภาพการให้บริการ และปัจจัยทางสังคม ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ ของผู ้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรวิมล โฆษ์สงวน และ นลินี เหมาะประสิทธิ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วชิรเกียรติ อารีจิตพานิช. (2562). การตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถานการณ์แนวโน้มการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา. https://secretary.mots.go.th/sports_policy/news_view.php?nid=331

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรี. (2565). ดิจิตอล แพลตฟอร์ม ก้าวท้าใจ.http://dn.corewebsite.com/public/dispatchupload/backend/core dispatch_309482_1.pdf

สุธา มาศโคกชู, วิชัยโถ สุวรรณจินดา และ อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2563). คุณภาพในการให้บริการของยิมมวยไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 12-21.

กลุ่มงานพัฒนาฐานข้อมูลและการพยากรณ์. (2565, 21 กุมภาพันธ์). ทิศทางการมีกิจกรรมทางกายกับระลอกการแพร่ระบาดโควิด-19 ของประเทศไทย. https://tpak.or.th/th/article/474

ทีเอ็นเอ็น ออนไลน์. (2021, 27 มิถุนายน). จับตาธุรกิจ “ฟิตเนส” หมื่นล้านกระอักจ่อปิด!. https://www.youtube.com/watch?v=KAtvb_OZlZQ

Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. Pearson Education Inc.

Meyers-Levy, J., & Peracchio, L. A. (1996). Moderators of the impact of self-reference on persuasion. Journal of Consumer Research, 22, 408-423.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. The free press.

Rahmati, T., & Honari, H. (2013). Analysis of relationship among service quality, members’ satisfaction and loyalty in aerobic clubs. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 3(3), 27-32.

Somsanouk Nonpasith. (2021). factors influencing the consumer buying decision of fitness center in vientiane capital of lao people's democratic republic. [Unpublished master’s thesis]. Burapha University.

World Health Organization. (2020). WHO Guidelines on physical activity and sedentary behaviour. https://www.who.int/publications/i/item/ 9789240015128

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-09

How to Cite

อำพรรรัตน์ ว. ., & ศิลป์รุ่งธรรม ว. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายของ ผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 11(2), 1–23. https://doi.org/10.60101/mmr.2024.271232