ทางเลือกใหม่ในการสร้างแนวการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • จำเนียร จวงตระกูล กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยกาฬสินธ์
  • กล้าหาญ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • วอนชนก ไชยสุนทร คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • รัญจวน ประวัติเมือง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พิบูลย์ ธาระพุทธิ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
  • สุมณฑา ตันวงศ์วาล บัณฑิตวิทยาลัยการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • สุเนตร มีนสุข ตัวแทนฝ่ายขาย อิบิลิตีส์ประเทศไทย
  • บวรนันท์ ทองกัลยา สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงคุณภาพ, ทางเลือกใหม่, การสร้างแนวการสัมภาษณ์เชิงลึก, การเก็บรวบรวมข้อมูล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการสร้างแบบแนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่มีลักษณะที่แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณในหลายมิติ เช่น เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์แบบต่าง ๆ อาทิ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์แบบเป็นกลุ่มและการสนทนากลุ่ม ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัตถุ สิ่งของ สถานการณ์ จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการเข้าร่วมเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งการเข้าร่วมและการสังเกต การเก็บรวบรวม แต่ละประเภทจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของข้อมูล เช่น แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกหรือแบบบันทึกการสังเกตหรือการเข้าร่วมกิจกรรมหรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งจากที่กล่าวข้างต้น เนื่องจากข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นข้อมูลหลักที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบทความนี้จึงได้นำเสนอกระบวนการและขั้นตอนในการสร้างแนวการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างไปจากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดที่กำหนดคำตอบตายตัวไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ตอบเลือกตอบ ในขณะที่แนวคำถามการสัมภาษณ์ใช้คำถามแบบปลายเปิดเพื่อให้ผู้ร่วมสนทนาสามารถตอบคำถามได้ตามความเป็นจริงตรงตามความต้องการของตน เป็นต้น ซึ่งในการสร้างแนวการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้วิจัยสามารถดำเนินการตามหลักการและวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้นำเสนอในบทความ สิ่งสำคัญคือการการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของแนวการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้แนวการสัมภาษณ์เชิงลึกที่เป็นเครื่องมือในการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพได้อย่างเหมาะสม

References

จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัท ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด.

จำเนียร จวงตระกูล. (2564). แนวการสัมภาษณ์เชิงลึก. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะอนุกรรมการ ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์.

วรรณวิชนี ถนอมชาติ. (2563). เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. ใน จำเนียร

จวงตระกูล (บรรณาธิการ), การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (น. 63-95). กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล.

วรรณวิชนี ถนอมชาติ, อุทัย อันพิมพ์ และ จำเนียร จวงตระกูล. (2563). การนำเสนอผลการวิจัย

เชิงคุณภาพ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(4), 1- 13.

Bolderston, A. (2012). Conducting a Research Interview. Journal of Medical Imaging and Radiation Sciences, 43(2012), 66-76.

B2B International. (2021). What is an in-depth interview?. Retrieved from https://www.b2binternational.com/research/methods/faq/what-is-a-depth-interview/

Boyce, C., & Neale, P. (2006). Conducting In-depth Interviews: A Guide for Designing and Conducting In-depth Interviews for Evaluation Input. Retrieved from https://donate.pathfinder.org/site/DocServer/m_e_tool_ series_indepth_interviews.pdf;jsessionid=00000000.app274b?docID=6301&NONCE_TOKEN=403A73C79734099BA1E49B12330F58F4

Creswell, W. J., & Creswell, D. J. (2018). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approach. California, USA: Sage publication.

Fuel Cycle. (2020). How to Conduct an In-depth Interview. Retrieved from https://www.fuelcycle.com/blog/in-depth-interviewing/

Gale, N. K., Heath, G., Cameron, E., Rashid, S., & Redwood, S. (2013). Using the framework method for the analysis of qualitative data in multi-disciplinary health research. BMC Medical Research Methodology, 13(117), 1-8.

International Tool Series. (2006). Monitoring and Evaluation -2. Retrieved from http://www2.pathfinder.org/site/DocServer/m_e_tool_series_indepth_interviews.pdf

Jamshed, S. (2014). Qualitative research method-interviewing and observation. Journal of Basic and Clinical Pharmacy, 5(4), 87-88.

Joungtrakul, J. (2009). Industrial Democracy and Best Practice in Thailand. Saarbrucken, Germany: LAP Lambert Academic Publishing AG & Co. KG.

Joungtrakul, J., Sheehan, B., & Aticomsuwan, A. (2013). Qualitative Data Collection Tool: A New Approach to Developing an Interview Guide. AFBE Journal, 6(2), 140-154.

Kallio, H., Pietila, A., Johnson, M. & Kangasniemi, M. (2016). Systematic methodological review: developing a framework for a qualitative semi-structured interview guide. Retrieved from https://usir.salford.ac.uk/id/ eprint/39197/1/jan13031%20Martin%20Johnson%20June%202016.pdf

Macfarlan, A. (2020). In-depth Interviews. Retrieved from https://www.betterevaluation. org/en/evaluation-options/in-depth_interviews

Maykut, P., & Morehouse, R. (1994). Beginning Qualitative Research: A Philosophic and Practical Guide. London: Falmer Press.

Patton, M, Q. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods (2nd ed.). Newbury Park, California, USA: Sage.

Ryan, F., Coughlan, M., & Cronin, P. (2009). Interviewing in qualitative research: The one-to-one interview. International Journal of Therapy and Rehabilitation, 16(6), 309-314.

Roulston, K. (2018). How to develop an interview guide (Part 1). Retrieved from https://qualpage.com/2018/02/08/how-to-develop-an-interview-guide-part-1/

Sutton, J., & Austin, Z. (2015). Qualitative Research: Data Collection, Analysis, and Management. The Canadian journal of hospital pharmacy, 68(3), 226-231. doi: 10.4212/cjhp.v68i3.1456

Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of Item-Objective Congruence for Multidimensional Items. International Journal of Testing, 3(2), 163-171.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28