รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย

Main Article Content

ชลกนก โฆษิตคณิน
พงษ์เทพ ศรีโสภาจิต
ณัชชา กริ่มใจ
ชนิดาภา ดีสุขอนันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย (2) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่มีต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย และ (4) เพื่อนำโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยที่ได้จากการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและเพิ่มสมรรถนะทางวิชาชีพเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย จำนวน 400 ราย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (Structure Equation Model--SEM)


ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคล สมรรถนะทางวิชาชีพและความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ โดยตัวแปรความยึดมั่นทางวิชาชีพ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในวิชาชีพสอบบัญชีมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยสมรรถนะทางวิชาชีพ และปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคลตามลำดับ หลังจากใช้โปรแกรมสำเร็จรูปตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้าง ปรากฏว่าดัชนีทุกตัวผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คือ ค่าดัชนี Chi-Square = 94.327, df = 84, p-value = 0.207,GFI = 0.938,CFI = 0.992, AGF I= 0.911, RMR = 0.030, RMSEA = 0.026 ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าผลการวิเคราะห์ที่ได้ครั้งนี้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประประจักษ์ และจากผลการวิเคราะห์เส้นทาง พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมส่วนบุคคล ปัจจัยสมรรถนะทางวิชาชีพและปัจจัยความยึดมั่นผูกพันต่อวิชาชีพ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการเข้าสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต รวมถึงผู้มีความเชี่ยวชาญ สามารถสรุปได้ว่าโมเดลที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ความสำเร็จในวิชาชีพสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
โฆษิตคณิน ช., ศรีโสภาจิต พ., กริ่มใจ ณ., & ดีสุขอนันต์ ช. (2019). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 9(2), 405–419. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj/article/view/119484
บท
บทความวิจัย

References

Bakker, A. B., & Demerouti, E. (2008). Towards a model of work engagement. Career Development International, 13(3),209-223.

Bonner, S. E. (1997). Accounting, audit category knowledge as a precondition to learning from experience. Organizations and Society, 22(5), 387-410

Colquitt, J. A., Conlon, D. E., Wesson, M. J., Porter, C. O. L. H., & Ng, K. Y. (2001). Justice at the millennium: A meta-analytic review of 25 years of organizational justice research. Journal of Applied Psychology, 86(3), 425-445.

Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Gaivong, S. (2010). Factors affecting the professional skills of certified public accountants and tax auditors. Bangkok: Pacific Institute of Management Science, 4(1), 51-68. [In Thai]

Federation of Accounting Professions. (2011). Accounting standards, Issue 18, Income. Retrieved from https://www.fap.or.th [In Thai]

Hair, J. F., Tatham, R. L., Anderson, R. E., & Black, W. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). London: Prentice Hall.

Henchokchaichana, N. (2005). Auditing. Bangkok : T. P. N. Place. [In Thai]

Kaiyaphan, P., & Hemmant, N. (2014). Thai accountant for ASEAN Economic Community. WMS Journal of Management Walailak University, 3(3), 14-21. [In Thai]

Kennedy, M. (2005). An integrative investigation of person-vocation fit, person organization fit, and person-job fit perceptions. Dissertation, Ph. D. (Philosophy). Denton: Graduate School The University of North Texas at Denton. Photocopied.

Krootboonyong, C. (2014). Desirable characteristics of accountant for Japanese manufacturing companies in Thailand. Panyapiwat Journal, 6(1), 77-85. [In Thai]

Naami, A. (2011). Relationship between person-environment fit and job engagement in nurses of Ahvaz Hospitals. International Journal of Psychology, 5(1), 119-134.

Phillips, J. M., & Gully, S. M. (2012). Organizational behavior: Tools for success. New York: South-Western, Cengage Learning.

Rich, B. L., Lepine, J. A., & Crawford, E. R. (2010). Job engagement: Antecedents and effects on job performance. Academy of Management Journal, 53(3), 617-635.

Rogelberg, S. G. (2007). Encyclopedia of industrial and organizational psychology. Thousand Oaks, CA: Sage.

Saks, A. M. (2006). Antecedents and consequences of employee engagement. Journal of Managerial Psychology, 21(7), 600-619.

Schaufeli, W. B., Salanova, M., Gonzalez-Roma, V., & Bakker, A. B. (2002). The measurement of engagement and burnout: A two-sample confirmatory factor analytic approach. Journal of Happiness Studies, 3(1), 71-92.

Schumacker, E. R., & Lomax, G. R. (1996). A beginner’s guide to structural equation modeling. Mahwah, NJ: Erlbaum.

Srijunpetch, S. (2002). Definition and scope of accounting. Journal of Accounting Profession, 12(34), 12-19. [In Thai]

Uachanachit, D., Ussahawanitchakit, P., & Pratoom, K. (2012). Audit competency and audit survival of CPAs in Thailand: An empirical investigation of the antecedents and consequences. Review of Business Research, 12(3), 105-132. [In Thai]

Vogel, R. M., & Feldman, D. C. (2009, August). Integrating the levels of person environment fit: The roles of vocational fit and group fit. Journal of Vocational Behavior, 75(1), 68-81.

Watts, R. L., & Zimmerman, J. L. (1983). Agency problems, auditing, and the theory of the firm: Some evidence. Journal of Law and Economics, 26(3), 613-633.