พรรษวุฒิ สาครินทร์ ความไว้วางใจและการส่งเสริมการขายที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
DOI : 10.14456/pnuhuso.2024.8
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) ศึกษาอิทธิพลของความไว้วางใจและการส่งเสริมการขายต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลาที่เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยความไว้วางใจและการส่งเสริมการขายส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา โดยสามารถอธิบายระดับการมีอิทธิพลได้ร้อยละ 39.3 โดยปัจจัยด้าน ความไว้วางใจ (b = .580) มีอิทธิพลสูงกว่าปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย (b = .202)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิระพงษ์ วรรณสุทธิ์. (2560). ศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Facebook live. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์]. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702031690_ 2852_1783.pdf
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล, 38(1), 6-28. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/91162/71602
ชลติกานต์ ทิศเสถียร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภค ระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/5130/1/chontikan_ tits.pdf
ณัฏฐ์พิฌา ราษฎรดีเตชะกุล. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(1), 128-134. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/262336/177015
ธัญลักษณ์ สุมนานุสรณ์. (2561). ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2037/1/59602347.pdf
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นัฐวุฒิ ซอนสุข และสิญาธร นาคพิน. (2566). การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าบนธุรกิจแพลตฟอร์มของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พิศุทธิ์ อุปถัมภ์. (2556). ความไว้วางใจและลักษณะธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1010/3/pisut_oppa.pdf
ภูษณ สุวรรณภักดี และวิลาวัลย์ จันทร์ศรี. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจ ทัศนคติ และส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 10(2), 21-38. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ecbatsu/article/view/154342/120644
มีนา อ่องบางน้อย. (2553). คุณค่าตราสินค้าความไว้วางใจและความพึงพอใจที่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า CAT CDMA (แคท ซีดีเอ็มเอ) [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Meena_O.pdf
รชต พันธุ์พูล, สุวรรณ เดชน้อย และสำราญ บุญเจริญ. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในจังหวัดลพบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 17(1), 97-112. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/264679 /177219
เศรษฐวิฐฬ์ คงกะพันธ์ และวลัยลักษณ์ บวรสินรักดี. (2565). พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคสูงอายุจังหวัดภูเก็ตในยุคดิจิทัล. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(47), 273-286. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/256950
สามารถ สิทธิมณี. (2562). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก]. https://mis .krirk.ac.th/librarytext/MOA/2562/F_Samart_Sittmanee.pdf
อาริยา ลีลารัศมี. (2558). องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และความไว้ใจในการซื้อสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมผ่านเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace. bu .ac.th/bitstream/123456789/2148/3/ariya_leel.pdf
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2564). การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ในยุคดิจิทัลของผู้สูงอายุ เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. ใน สังคมไทยหลัง NEW NORMAL: การเรียนรู้ การวิจัย และการสร้างสรรค์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12. (น. 567-573). สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Belch, G. E. & Belch, M. A. (1993). Introduction to Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective (2nd ed.). Mass: Richard D. Irwin, Inc.
Belch, G. E. & Belch, M. A. (2007). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. McGraw-Hill.
Suryani, I. & Syafarudin, A. (2021). Effect of Sales Promotion on Purchasing Decisions. Ilomata International Journal of Tax & Accounting, 2(2), 122-133. https://doi.org/10.52728/ ijtc.v2i2.216
Kim, S., & Pysarchik, T. D. (2000). Predicting purchase intentions for uni-national and bi-national products. International Journal of Retail & Distribution Management, 28(6), 280-291. https://doi.org/10.1108/09590550010328544
Xia, L., & Monroe, K. B. (2009). The Influence of Pre-Purchase Goals on Consumers Perceptions of Price Promotions. International Journal of Retail & Distribution Management, 37(8), 680. https://doi.org/10.1108/09590550910966187
Zeithaml, V. A., Berry, L.L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of marketing, 60(2), 31-46. http://doi.org/10.2307/1251929