แนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวัยที่สามเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย

ผู้แต่ง

  • อาชัญญา รัตนอุบล คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วีรฉัตร์ สุปัญโญ คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มนัสวาสน์ โกวิทยา คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ตลอดชีวิต, ผู้สูงอายุไทย, มหาวิทยาลัยวัยที่สาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เป็นไปได้ของมหาวิทยาลัยวัยที่สามที่เหมาะสมกับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย และนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวัยที่สามดังกล่าว ผู้ทรงวุฒิทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า มหาวิทยาลัยวัยที่สามเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย มีรูปแบบหลัก 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดสอนในมหาวิทยาลัยในลักษณะการเรียนเสริมระยะสั้น        2) รูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ 3) รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามอัธยาศัย และ4) รูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สามเสมือนจริง และมีแนวทางการขับเคลื่อนใน 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านนโยบาย 2. ด้านปรัชญาพื้นฐานและหลักการ 3. ด้านหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ 4. ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 5. ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และ 6. ด้านการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยวัยที่สามเป็นกลไกในการพัฒนาผู้สูงอายุไทยที่มีศักยภาพ

Author Biographies

อาชัญญา รัตนอุบล, คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08