คำศัพท์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • จริยา ก่อภัททสิริกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

คำศัพท์ภูมิปัญญา, จังหวัดสตูล, ภาษาไทยถิ่นใต้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล และ วิเคราะห์คำศัพท์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีตัวแทนผู้บอกภาษา เพศชายและเพศหญิงที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนและเข้าเกณฑ์คุณสมบัติของผู้บอกภาษาอย่างเคร่งครัด จำนวน 2 คน และใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มเชิงลึกกับชาวบ้านในชุมชนประกอบ รายงานผลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูลมี 8 ลักษณะ คือ การตั้งถิ่นฐานของ บรรพบุรุษ อาหารและวิธีการทำอาหาร อาชีพและวิธีการประกอบอาชีพ ต้นไม้พืชพรรณ โรคและยารักษาโรค ความเชื่อทางคติชนวิทยา คำสอน การละเล่น และเทศกาลและวันสำคัญ เมื่อผู้วิจัยนำคำศัพท์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลเขาขาว มาจัดกลุ่มความหมายตามทฤษฎีการจัดกลุ่มความหมาย พบว่าสามารถจัดกลุ่ม คำศัพท์ได้เป็น 8 กลุ่ม คือ คำเรียกบุคคล จำนวน 12 คำ คำเรียกริยาอาการ จำนวน 17 คำ คำเรียกสิ่งของเครื่องใช้ จำนวน 15 คำ คำเรียกพืชพันธุ์ จำนวน 22 คำ คำเรียกอาหาร จำนวน 15 คำ คำเรียกเกี่ยวกับความเชื่อ จำนวน 10 คำ คำเรียกการละเล่น จำนวน 3 คำ และคำเรียกการเกล้าผม จำนวน 2 คำ ผลการวิจัยนี้ สะท้อนให้เห็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับมนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งสามประการส่งผลต่อ การดำรงชีวิตและก่อให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ป็นอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่ม ส่วนการศึกษาคำศัพท์ที่สะท้อน ภูมิปัญญาแสดงให้เห็นถึงมโนทัศน์ทางด้านภาษา ยิ่งไปกว่านั้น คำศัพท์ที่สะท้อนภูมิปัญญาเหล่านี้สามารถนำไป ต่อยอดหรือยกระดับชุมชนในเชิงเศรษฐกิจได้ต่อไป 

References

Burutphat, S. (2000). Dialect geography. Bangkok: Language and Culture Research Institute for Rural Development, Mahidol University.

Khlaaj Na Rangsi, T. (2012). Study on the music composed of Silakayong, Ra-Mad Village, Koh Lan-Ta District, Krabi Province (Master of Arts thesis). Srinakharinwirot University. http://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3550/2/Teeranut_K.pdf

Na Thalang, E. (1997). Local wisdom in four regions: Thai villagers' way of life and learning process. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University.

Phaikhumnam, O., Manna, S., Chuchangwang, A., Prapairee, T., & Kophatthasirikul, J. (2023). Vocabulary analysis and integrated teaching tools creation: A case study of Southern Dialects; Sakom Dialects, Songkhla Province. Retrieved July 30, 2023, from https://www.hu.ac.th/conference/conference2023/proceedings/

Panyametheekul, H. (2006). Meaning study (Teaching Documents). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Phueksom, J. T. (2017). Southern Thailand, Northern Malay: Ethnic interactions on the Peninsula of Diversity. Nakhon Si Thammarat: Green Zone Limited Partnership Green Zone Inter.

Reungnarong, P. (2011). Bu-nga Pattani: Thai muslims on the southern border (2nd ed.). Bangkok: Architecture Books.

Saralamba, C. (2015). Meaning. In Language and linguistics. Bangkok: Thammasat University.

Sma-un, S., & Sma-un, H. (2016). Study Malay language in the Southern Thai dialect under Satun. Songkhla: Songkhla Rajabhat University

Satun Primary Educational Service Area, Office. (2010). Including the story of Satun City commemorating the 150th anniversary (3rd ed.). Bangkok: Mitr Siam.

Thongchuay, C. (1993). Language and Southern culture. Bangkok: O.S. Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-22