<b>จากการโหยหาอดีต สู่การเสาะค้นเทพเจ้าในสิ่งเล็กๆ : หนึ่งทศวรรษแห่งการเปลี่ยนโฉมหน้าของกวีนิพนธ์ไทย ศึกษาจากกวีนิพนธ์รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด (2547-2557)</b><br> From Nostalgia to Seeking Gods in Small Things: A Decade of change of Thai Poetry by Studying

ผู้แต่ง

  • Pichet Saengthong Department of Thai, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University

คำสำคัญ:

Literature for Life Discourses, nostalgia, Seven Books Award

บทคัดย่อ

This article studies Thai poems and poetry
sociology by using poems that have been rewarded
the 7 Book Awards between 2004 and 2014 as
the text for content analysis. The analysis focuses
on styles, contents, and trends of contemporary Thai
poetry. The article considers period and characteristics
of poems that have been rewarded the 7 Book Awards.
It categorizes into three parts. Firstly, the article
focuses on the social and cultural context in Thai
literature before and after of the mid of a decade
after 1997 that are factors found the 7 Book Award.
Next, the article concentrates on poetry trends and
confrontation between the Literature for Life
movement in a decade after 1967 and the Surreal
Literary trends in the late of a decade after 1977 to
a decade after 1987. Then, this confrontation leads to

the third part. Remarkably, poetry in a decade after
1987 and 1997 pays much attention to nostalgia with
the Thai society. Indeed, poetry aims to search for the
meanings of small things that were ignored. Also,
poetry in this period seeks for ideas from social
phenomenon.





<br><br>
<b> บทคัดย่อ</b><br>บทความนี้ศึกษาบทกวีและสังคมวิทยากวีนิพนธ์
ไทย โดยใช้บทกวีที่ได้รับรางวัลเซเว่นบุ๊คตั้งแต่
พ.ศ.2547-2557 เป็นตัวบทในการวิเคราะห์ โดยได้
วิเคราะห์ในประเด็นแนวนิยมด้านเนื้อหา กลวิธี และ
แนวโน้มของกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย โดยบทความจะ
แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนหลัก ใช้กรอบเวลาและ
ลักษณะเด่นของกวีนิพนธ์ที่ได้รับรางวัลเซเว่นบุ๊ค
เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาเพื่อจ�าแนกกลุ่ม ประเด็นแรก
บทความนี้จะกล่าวถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมใน
วงการวรรณกรรมไทยในช่วงก่อนและครึ่งหลังทศวรรษ
ที่ 2540 ซึ่งเป็นบริบทที่ก่อให้เกิดรางวัลเซเว่นบุ๊คขึ้นมา
จากนั้นพิจารณากระแสทางกวีนิพนธ์ และการปะทะ
สังสรรค์กันระหว่างแนวคิดทางวรรณกรรมแบบ
เพื่อชีวิตในช่วงทศวรรษ 2510 ถึงแนวสร้างสรรค์
สะท้อนสังคมในช่วงปลายทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ
2530 โดยการปะทะสังสรรค์ดังกล่าวนี้ น�าไปสู่เนื้อหา
ส่วนที่ 3 คือ จะมองเห็นลักษณะเด่นของกวีนิพนธ์ใน
ช่วงทศวรรษ 2530-2540 ที่ร่วมกระแสโหยหาอดีต
ของสังคมไทย กวีนิพนธ์ที่มุ่งสู่การเสาะค้นความหมาย
ของสิ่งเล็กๆ ที่เคยถูกมองข้าม และกวีนิพนธ์
ที่แสวงหาปรัชญาข้อคิดจากปรากฏการณ์ทางสังคม

<br><br> คำสำคัญ: การโหยหาอดีต, เซเว่นบุ๊ค,
รางวัลวรรณกรรม, วาทกรรมเพื่อชีวิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-07-01