<b>พัฒนาการการวิจารณ์วรรณกรรมร่วมสมัยของไทย: การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและสื่อการวิจารณ์จากมุขปาฐะ ผ่านสิ่งพิมพ์สู่อินเทอเน็ต</b><br> Evaluation of Contemporary Literary Criticism in Thailand: Cultural Transformation from Orality through Print Media to Intern

ผู้แต่ง

  • อรพินท์ คำสอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

criticism, internet, literary criticism, oral tradition, print media

บทคัดย่อ

Abstract

Thai literary criticism more than one century ago

changes in the nature and means of communication.

Criticism in Thailand evolved from the oral tradition

to the print media, though the latter has never assumed

the importance as in Western culture, because of the

persistence of the oral mode of communication.

Literary criticism was continuous improvement in print

media until 1997 that Asian financial crisis started in

Thailand. This crisis impacted on decrease of literary

criticism in mainstream of print media. At the same

time alternative media both literature magazines and

academic journals increased that replaced closing

down critical arena in mainstream print media.The

advent of globalization with its concomitant domination

of information technology has affected both the literature and literary criticism which has found new

expressions in the internet.Within the past two decades,

criticism in the internet has invaded the critical arena,

marked by innovation in many forms, propelled by the

social media. The cyber world knows no frontier and

criticism of quality can be found in unexpected

domains, produced by creative individuals, who are

no longer attached to specific groups or communities

as with the print media.

<br><br>Keywords: criticism, internet, literary criticism,

oral tradition, print media


<br><br>
<b> บทคัดย่อ</b><br>
บทคัดย่อ

การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและสื่อการวิจารณ์

วรรณกรรมร่วมสมัยของไทยตลอดระยะเวลากว่า

หนึ่งศตวรรษผ่านมาบ่งชี้ว่าการวิจารณ์วรรณกรรม

ในสังคมไทยเริ่มต้นจากวัฒนธรรมมุขปาฐะ ต่อมา

ได้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่วัฒนธรรมลายลักษณ์ แต่ก็ยังไม่

ได้เป็นวัฒนธรรมลายลักษณ์อย่างเต็มรูปเหมือนใน

สังคมตะวันตก เนื่องจากการวิจารณ์ในวัฒนธรรม

มุขปาฐะก็ยังคงเข้มแข็งอยู่การวิจารณ์ในสิ่งพิมพ์ได้

พัฒนาต่อเองมาโดยตลอดจนกระทั่ง พ.ศ. 2540 เมื่อ

สังคมไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจอันส่งผลกระทบ

ต่อสื่อสิ่งพิมพ์ จนท????ำให้เกิดความถดถอยของพื้นที่

และความซบเซาของการวิจารณ์วรรณกรรมในพื้นที่

สิ่งพิมพ์กระแสหลัก ทว่าในช่วงเวลาดังกล่าว สื่อทาง

เลือกได้เพิ่มปริมาณมากขึ้น ทั้งนิตยสารเฉพาะทาง

วรรณกรรมและวารสารวิชาการเพื่อทดแทนพื้นที่

วรรณกรรมวิจารณ์ที่ปิดตัวลงในสื่อสิ่งพิมพ์กระแส

หลัก เมื่อสังคมก้าวเข้ายุคโลกาภิวัตน์ของโลกไร้

พรมแดนในยุคปัจจุบัน วรรณกรรมและวรรณกรรม

วิจารณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมและสื่อใหม่

ที่เกิดขึ้น นั่นคือสื่ออินเทอร์เน็ต ในช่วงประมาณสอง

ทศวรรษที่ผ่านมาเห็นได้ว่าเป็นช่วงการปรับเปลี่ยน

รูปแบบวรรณกรรมวิจารณ์ เนื่องจากการวิจารณ์

วรรณกรรมในสื่อสิ่งพิมพ์ลดตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่

กลับขยายตัวเพิ่มขึ้นในสื่ออินเทอร์เน็ต ทั้งในด้าน

????ำนวนบทวิจารณ์และรูปแบบการวิจารณ์เชิงทดลอง

ที่เพิ่มมากในสื่อสังคมต่างๆ นับเป็นการสร้างรูปแบบ

และทิศทางใหม่ของการวิจารณ์วรรณกรรม แต่

อย่างไรก็ดี คุณภาพของการวิจารณ์เป็นสิ่งที่ต้อง

พิจารณากันต่อไป เนื่องจากพื้นที่อินเทอร์เน็ตเป็น

โลกไร้พรมแดน ผู้เขียนงานวิจารณ์ที่มีคุณภาพอาจ

เป็นบุคคลที่เป็นผู้รักสมัครเล่นต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์

สมัยที่การวิจารณ์รุ่งเรือง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่านักวิจารณ์

ชั้นนำลงพิมพ์ผลงานของตน ณ ที่ใด

<br><br> คำสำคัญ: การวิจารณ์, มุขปาฐะ, วรรณกรรมวิจารณ์,

สิ่งพิมพ์, อินเทอร์เน็ต

Author Biography

อรพินท์ คำสอน, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นักศึกษาปริญญาเอก (วรรณคดีไทย)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-01