ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา ข้าราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการทำงาน, การรับรู้คุณลักษณะงาน, บรรยากาศองค์การ, ความผูกพันต่อองค์กรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา ได้แก่ แรงจูงใจในการทำงาน การรับรู้คุณลักษณะงาน บรรยากาศองค์การ และความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา ข้าราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา ได้แก่ แรงจูงใจในการทำงาน การรับรู้คุณลักษณะงาน บรรยากาศองค์การ กับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาข้าราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน (3) ศึกษาอำนาจการทำนายความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา ข้าราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน โดยตัวแปรปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา ได้แก่ แรงจูงใจในการทำงาน การรับรู้คุณลักษณะงาน บรรยากาศองค์การ ได้อย่างน้อย 1 ตัวแปร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แรงจูงใจในการทำงาน การรับรู้คุณลักษณะงาน บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา ข้าราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. การรับรู้คุณลักษณะงาน บรรยากาศองค์การ สามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา ข้าราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้งสองสามารถร่วมกันทำนายความผูกพันต่อองค์กรได้ร้อยละ 44.50 โดยบรรยากาศองค์การเป็นตัวทำนายความผูกพันต่อองค์กรได้ดีที่สุด
References
ฎัชวรรณ อุดมชัยรัศมี. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่องานระหว่างพนักงานที่มีการรับรู้คุณลักษณะงานแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เทพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
นิณี บุณยฤทธานนท์. (2547). ปัจจัยที่พยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานเอกชน. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์. (2546). ออกแบบงานอย่างไรเพื่อสร้างแรงจูงใจภายในงาน. มนุษยศาสตร์สาร. ปีที่4 (ฉบับบ1), 1-12.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, สุพีร์ ลิ่มไทย, ณกมล จันทร์สม, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์ และอารี พันธ์มณี. (2541). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซแท็ก.
Hackman, J. R., & Oldham, G. R. (1980). Work redesign. Reading. MA: Addisson-Wesley.
Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: John Willey & Sons.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Rollinson, D. (2005). Organisational behaviour and analysis: An integrated approach. Englewood Cliffs. NJ: Prentice Hall.
Sheldon, M. E. (1971). Investment and involvements as mechanism producing commitment to the organization. Administrative Science Quarterly, 16, 143-150.
Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly. 22, 46-56.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว