แนวโน้มการขยายตัวของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัทภพ แก้วสัมฤทธิ์

คำสำคัญ:

รถยนต์ไฟฟ้า, พัฒนาเทคโนโลยี, การร่วมมือกัน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันอัตราการใช้รถยนต์ของมนุษย์เพิ่มสูงขึ้นทุกปีสาเหตุเนื่องมาจากบริษัทรถยนต์ค่ายต่างๆได้มีการทำการตลาดและตั้งราคาขายตามขนาดของรถยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท โดยตั้งราคาให้เข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงระดับของรายได้ มากไปกว่านั้นการเดินทางโดยรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลยังมีความสะดวกสบายและมีความเป็นส่วนตัว จึงทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งเลือกที่จะซื้อรถยนต์แทนการซื้อยานพาหนะประเภทอื่นๆ แต่ทั้งนี้การเผาไหม้จากเชื้อเพลิงน้ำมันของรถยนต์นั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นเมื่อมนุษย์ใช้รถยนต์มากขึ้นจะทำให้เกิดมลพิษมลภาวะเพิ่มสูงขึ้นด้วย ด้วยเหตุผลนี้หลายประเทศได้มีการวางแผนนโยบายเพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าที่จะนำมาใช้แทนรถยนต์ที่ใช้เพียงน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลเพียงอย่างเดียว อีกทั้งภายหลังประเทศต่างๆที่ผลิตรถยนต์ได้เล็งเห็นว่าน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลมีโอกาสหมดไปจึงได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้าประกอบด้วย 4 ประเภทคือ รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEVs), รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEVs), รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งนี้ประเทศไทยจึงต้องรีบกำหนดนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งการสนับสนุนและการร่วมมือกันของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน เพื่อที่จะส่งเสริมให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศมีการขยายตัว การพัฒนาและรองรับการใช้งานอย่างแพร่หลาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-24