การสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

Main Article Content

ธัญธิดา โชคคณาพิทักษ์
วารุณี ลัภนโชคดี
ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และ 4) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้แบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4-6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จำนวน 1,016 คน โดยแบบวัดที่สร้างขึ้นประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 66 ข้อ เพื่อวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองอาเซียน 11 คุณลักษณะ มีลักษณะเป็นคำถามเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก โดยตัวเลือกมีคะแนนแตกต่างกันตั้งแต่ 1-5 คะแนน


          ผลการวิจัย พบว่าแบบวัดที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ ดังต่อไปนี้ 1) ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน จากการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการของความเป็นพลเมืองอาเซียน และความสอดคล้องของตัวเลือกที่แสดงถึงระดับคุณลักษณะตามทฤษฎีจิตพิสัยของ Krathwohl, Bloom, & Masia พบว่า ข้อคำถามและตัวเลือกในแบบวัดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 2) ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.20-0.69 3) ความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าค่าไคสแควร์=801.33; df=1,582; p=1.00; RMSEA=0.00; GFI=0.92; AGFI=0.90 4) ความเที่ยงของแบบวัดจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach 11 คุณลักษณะ เท่ากับ 0.92, 0.93, 0.94, 0.96, 0.95, 0.95, 0.95, 0.96, 0.96, 0.95 และ 0.94 ตามลำดับ ส่วนค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 5) เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนของแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน ในรูปของคะแนนมาตรฐานทีปกติ มีค่าตั้งแต่ T19-T92 และ 6) คู่มือการใช้แบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน มีความเหมาะสม มีส่วนประกอบสำคัญครบถ้วน
อ่านเข้าใจง่าย และสะดวกในการนำไปใช้งาน

Article Details

How to Cite
โชคคณาพิทักษ์ ธ., ลัภนโชคดี ว., & ชัยรัตนาวรรณ ข. (2019). การสร้างแบบวัดความเป็นพลเมืองอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 93–104. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/162990
บท
บทความวิจัย

References

โกศล จิตวิรัตน์, และเนตร์พัณณา ยาวิราช. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูปขั้นต้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงในลักษณะเชิงพลวัต. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 154-165.

ชวลิต ชูกำแพง. (2549). เอกสารประกอบบทเรียน การประเมินการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีระพันธ์ ธีรานันท์. (2555). เอกสารประกอบคำบรรยาย การอบรมการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้และสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). วผ 401 การวัดประเมินการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรทิพย์ ไชยโส. (2545). เอกสารคำสอนวิชา 153521 หลักการวัดและการประเมินผลขั้นสูง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชาติ แก้วพวง. (2558). อาเซียนศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ด ดูเคชั่น.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2555). เอกสารประกอบการสอน รหัสวิชา 2000111 วิชาอาเซียนศึกษา (ASEAN Studies) 2555 โปรแกรมสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/505876

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2545). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาส์น.

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2560). ความเป็นพลเมืองอาเซียนของเยาวชนไทยระดับประถมศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1), 246-256.

ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข. (2557). คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน คุณลักษณะของนักเรียนอาเซียนสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน. สืบค้น 23 ตุลาคม 2559, จาก https://www.anantasook.com/asean-children-characteristics/

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่งคง การพิมพ์.

Gauthier, M. (2013). The ASEAN and the idea of a global citizenship. GSTF International Journal of Law and Social Sciences, 3(1), 36-41.