ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานและปัจจัยการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ สำราญ
ฐิติพร ภักดีวงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานและปัจจัยการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของประชากรจากสูตรของ Taro Yamane โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น โดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ปัจจัยการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความสุขในการทำงาน อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ได้แก่ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านร่างกาย ด้านความมั่นคงในชีวิตส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร โดยร่วมกันพยากรณ์ความสุขในการทำงานได้ร้อยละ 62 ส่วนปัจจัยการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ ด้านจิตวิทยาและสังคมในการทำงาน มีอิทธิพลส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร โดยร่วมกันพยากรณ์ความสุขในการทำงานของบุคลากรได้ร้อยละ 22

Article Details

How to Cite
สำราญ ล., & ภักดีวงษ์ ฐ. (2019). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานและปัจจัยการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 23–33. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/166062
บท
บทความวิจัย

References

กัลยารัตน์ อ๋องคณา. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้คุณค่าในตนเอง สภาพแวดล้อมในงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุญธิภา กิติวงษ์ประทีป. (2550). การรับรู้เศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นิสารัตน์ ไวยเจริญ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานปฏิบัติการผลิตในบริษัทยูแทคไทย จำกัด (สำนักงานใหญ่) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สกุลนารี กาแก้ว. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงานกับการปฏิบัติงานของพยาบาลตำรวจ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2552). อนุกรมระบบการบริหารจัดการด้านคุณภาพชีวิตการทำงาน: Management system of quality of work life series (MS-QWL). กรุงเทพฯ: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ.

สุวิมล ติรกานนท์. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชุลี จำนงผล. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัทในเครือแหลมทองกรุ๊ป (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Diener, E., & Oishi, S. (2004). Are ScandInavIans HappIer than AsIans? Issues in comparing nations on subjective well-being. In F. Columbus (Ed.), AsIan economic and political issues: Vol. 10 (pp. 1-25). Hauppauge, NY: Nova Science.