การสังเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างคือ งานวิจัยเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานของครูที่ตีพิมพ์ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2562 ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ จำนวน 14 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบบันทึกข้อมูลงานวิจัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านบริหาร (r=-0.58) และปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงบวกกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันเชิงลบอยู่ในระดับปานกลาง (r=-0.45) ปัจจัยด้านสังคมกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันเชิงลบอยู่ในระดับต่ำ (r=-0.32) และปัจจัยด้านงานกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันเชิงลบอยู่ในระดับต่ำมาก (r=-0.15) ส่วนปัจจัยด้านจิตวิทยาเชิงลบกับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r=0.53) ตามลำดับ โดยมีตัวแปรในแต่ละกลุ่มปัจจัย ได้แก่ พฤติกรรมผู้นำ (r=-0.77) และความผูกพันในงาน (r=-0.65) กับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันเชิงลบอยู่ในระดับสูง การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา (r=-0.53) กับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันเชิงลบอยู่ในระดับปานกลาง ประสบการณ์ทำงาน (r=-0.18) กับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันเชิงลบอยู่ในระดับต่ำมาก และความคลุมเครือในบทบาท (r=0.83) กับความท้อแท้ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก
Article Details
References
Buosonte, R. (2013). Mixed methods in research and evaluation. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Dandee, W. (2010). Factors affecting the burnout of teacher under the Loei Educational Service Area Office Loei1 (Master’s thesis). Loei Rajabhat University, Loei. (in Thai)
Jitanan, B. (2006). Research in society. Bangkok: Thammasat University. (in Thai)
Jongwisan, R. (2020). Industrial psychology. Bangkok: Chulalongkorn University.
Kaewmuangkom, K. (2011). Leadership behavior of school administrators affecting the burnout of elementary school teachers under the jurisdiction of Leamchabang municipality in Chonburi (Master’s thesis). Burapha University, Chon buri. (in Thai)
Maslach, C. (1978). The client role in staff burn-out. Journal of Social Issues, 34(4), 111-124.
Morakotsit, P. (2009). Human resource and development organization. Human Resource and Organization Development Journal, 55(1), 88-102. (in Thai)
Pakdeecharoen, P. (2009). A causal model and effects of burnout of teachers in Bangkok: A quantitative and qualitative study (Master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)
Pranee, K. (2016). A causal relationships between Job resources, proactive coping, work engagement, and burnout of secondary school teachers (Master’s thesis). Burapha University, Chon buri. (in Thai)
Sanamat, P. (2009). Factors affecting job burnout of the teachers in schools under the Office of Nongbualamphu Educational Service Area 2 (Master’s thesis). Loei Rajabhat University, Loei. (in Thai)
Siripantasak, N., Buaurai, N., Paweenbampen, P., & Laowong, P. (2021). A causal relationship model of burnout for secondary school teachers. The Proceedings of the 59th Kasetsart University Annual Conference, Education Humanities and Social Sciences (pp. 364-374). Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
Suntrayuth, T. (2013). Organization theory and behavior method theory research and education practicum in education. Bangkok: Netikun Printing House. (in Thai)
Tanyarattanasrisakul, M. (2017). The professional learning community: Practices guidelines for teachers. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences), 2(2), 214-228. (in Thai)
Thabprom, M., & Puangyanee, S. (2017). Factors influencing performance effectiveness of support staff at Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. RMUTSB Academic Journal (Humanities and Social Sciences), 2(1), 16-32. (in Thai)
Wiratchai, N. (1999). Meta-analysis. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Wongsarat, T. (2012). Predicting variables to burnout of teachers under Nan Primary Educational Service Area Office 1 (Master’s thesis). Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)